LIKAY DRAMA
เอิ้น-ศริญญา ลิมทองทิพย์
หนึ่งในนักออกแบบลายผ้ารุ่นใหม่กำลังเป็นที่น่าจับตามอง
เอิ้น-ศริญญา ลิมทองทิพย์ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Srinlim ด้วยประสบการณ์และการทำงานด้านกราฟิกดีไซน์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ แรงบันดาลใจ ในการออกแบบของเธอจึงมาจากทุกสิ่งรอบตัว ซึ่งเธอสามารถเอามาประยุกต์ใช้ได้เสมอ
เสน่ห์งานแฮนด์เมด
"แม้งานของเราจะเป็นอุตสาหกรรม แต่ก็ผสม งานฝีมือ เราใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ผ้า ร่วมกับงานปัก ซึ่งเป็นช่างฝีมือชาวบ้าน มาเพิ่มให้งานของเราดูมีมิติ มีเสน่ห์มากขึ้น เป็นของสองสิ่งที่จะต้องรวมกันเป็น งานดีไซน์ เรียกว่าขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้" เอิ้นแนะนำการทำงานของตัวเอง แล้วยังบอกอีกว่า ยิ่งโต เธอก็ยิ่งชอบงานฝีมือของไทย ด้วยความที่เรามีรากเหง้าหยั่งลึกแตกต่างจากหลายประเทศใกล้เคียง ที่ยังมีอิทธิพลของชาติยุโรปเจือปน

จากความหลงใหลในศิลปวัฒนธรรมไทยจึงเป็นที่มาให้เธอคิดออกแบบลวดลายบนสิ่งทอเพื่อนำมาใช้ เป็นวัสดุตกแต่งภายใน โดยเธอได้แรงบันดาลใจมาจากเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่เต็มไปด้วยสีสันและความ วิบวับของ ‘ลิเกไทย’ "เรามองหาวัฒนธรรมอะไรที่ใกล้ชิดกับผู้คน ก็นึกถึง ลิเก ซึ่งไม่เห็นมีใครนำมา เล่นเลย คนรุ่นใหม่จะมองว่าเชย มองเชิงลบกันหมด แต่เราน่าจะเอามาทำให้เก๋ได้ เลยจับเอาเพชรซีกมา เป็นจุดเด่นในลายจัดแพทเทิร์นใหม่ ใส่สีสันใหม่ พิมพ์ลงบนผ้ามันแล้วทำออกมาเป็นเก้าอี้ เป็นหมอนอิง ซึ่งก็ได้รับผลตอบรับที่ดี"
แรงบันดาลใจในการออกแบบ
เช่นเดียวกับ "ที่นอนสามเหลี่ยมจากผ้าทออีสานแบบพกพา" ที่ได้รับมาจากแสนสิริ เอิ้นได้นำเอกลักษณ์ ลวดลายลิเกที่เธอพัฒนามาต่อยอดลงไปในผลงานชิ้นนี้เช่นกัน "ตอนแรกที่เห็น เขาทำออกมาดูมีฟังก์ชัน ที่ดีมาก น้ำหนักเบา เราก็มาดูว่าจะเอาลวดลายของเราเข้าไปใส่แบบไหน ใช้สีอย่างไร เริ่มจากการทำลาย พิมพ์ผ้า เราเลือกใช้ผ้าสีเมทัลลิค เพื่อให้ลวดลายที่พิมพ์กับด้ายที่ปักเกิดการผสมผสานของสี ซึ่งจะได้ มิติที่ชวนมองกว่า"

นอกจากนี้ นักออกแบบสาวไฟแรงยังใส่ความพิเศษลงไปในชิ้นงาน ด้วยเทคนิคการต่อลายลงบนที่นอน สามเหลี่ยม ที่ไม่ว่าจะพับหรือกางออกก็จะเห็นเป็นลวดลายสวยงามไม่ต่างกัน "เป็นงานที่ท้าทายมาก เพราะเราต้องวางแพทเทิร์นใหม่หมด ต้องดูจังหวะเวลาพับว่า พับแบบนี้ลายต้องต่อกันแบบไหน เมื่อกาง ออกลายจะต้องเป็นยังไง"

สุดท้ายเธอกล่าวถึงการร่วมงานในครั้งนี้ว่า การออกแบบของแสนสิริถือเป็นการสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ ว่า สิ่งที่หลายคนคิดว่าเชย แต่เราสามารถนำมาใช้ได้ แค่ปรับรูปลักษณ์บางอย่างโดยยังมีฐานเดิมอยู่ น่าจะเป็นแนวคิดที่จะช่วยพัฒนางานฝีมือไทยต่อไปในอนาคต


SANSIRI.COM | SITEMAP Copyright 2014 SANSIRI PUBLIC COMPANY LIMITED, ALL RIGHTS RESERVED.