การปลูกผักกินเอง เป็นหนึ่งในกิจกรรมช่วยให้ใช้เวลาว่างที่มีให้เกิดประโยชน์ อีกทั้งยังช่วยทำให้เรามีผักสด ๆ อร่อย ๆ ได้กินในทุกวัน ที่สำคัญยังมั่นใจได้ว่าผักที่รับประทานนั้นมีความปลอดภัย ไร้สารเคมีตกค้าง สำหรับใครที่กำลังสนใจการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร วันนี้แสนสิริได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์มาฝากกัน พร้อมทั้งแชร์เคล็ดลับว่าปลูกผักไฮโดรโปนิกส์อย่างไรไม่ให้ขม พร้อมทั้งให้ผลผลิตที่ดี
ไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponic) เป็นระบบการปลูกผักในน้ำ โดยมีการผสมปุ๋ยน้ำเพื่อใช้เลี้ยงผัก ผักไฮโดรโปนิกส์ จึงหมายถึงผักที่เลี้ยงให้มีการเจริญเติบโตในน้ำ โดยให้ส่วนรากจะดูดซึมสารอาหาร เพื่อหล่อเลี้ยงลำต้น ส่วนใหญ่แล้วจะนิยมปลูกเป็นพืชระยะสั้น ที่ใช้เวลาเพียง 40-60 วันก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ อย่างผักจำพวกเรดโอ๊ค บัตเตอร์เฮด และผักกาดหอม เป็นต้น แต่ผักชนิดอื่น ๆ อย่างผักบุ้ง มะเขือเทศ หรือสตอรว์เบอร์รีก็สามารใช้การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ได้เช่นกัน แต่จะต้องมีการเลือกภาชนะในการปลูกให้มีความเหมาะสม เพื่อให้มีพื้นที่ในการเจริญเติบโต
การปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์นั้นเป็นรูปแบบของการปลูกผักในน้ำ โดยรากของผักจะมีการดูดซึมสารอาหารเพื่อนำไปเลี้ยงลำต้น สำหรับระบบที่ใช้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นมีด้วยกันทั้งหมด 5 ประเภท ดังนี้
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยระบบ DFT หรือ Deep Flow Technique หรือบางคนอาจจะเรียกวิธีปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ลักษณะนี้ว่า Floating Hydroponic Systems หรือ ระบบไฮโดรโปนิกส์ลอยน้ำ เพราะวิธีการปลูกประเภทนี้จะปลูกพืชบนแผ่นโฟมหรือวัสดุที่สามารถลอยน้ำได้ เพื่อให้รากช่วยยึดลำต้นไว้ให้ลอยได้นั่นเอง
DRFT หรือ Dynamic Root Floating Technique เป็นระบบการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบระบบกึ่งน้ำลึก หรือการปลูกที่ใช้น้ำมาก ๆ จึงเหมาะสำหรับการปลูกผักไทย ที่มีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวที่ค่อนข้างนาน ที่สำคัญการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์แบบ DRFT ยังต้องการค่า EC (Electrical Conductivity) หรือ ค่าความเข้มข้นของปุ๋ยที่สูง นอกจากนี้การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ระบบกึ่งน้ำลึกจะต้องหมั่นเติมออกซิเจนให้กับน้ำ และทำระบบหมุนเวียนน้ำให้มีคุณภาพ เพื่อที่ผักจะได้รับสารอาหารที่ทั่วถึง
FAD (Food and Drain) เป็นการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ โดยจะปล่อยให้รากของผักแช่น้ำไว้ในระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้ผักได้รับสารอาการอย่างเต็มที่ และค่อย ๆ ปล่อยน้ำออก แล้วปล่อยน้ำเข้าใส่สารละลายอีกครั้ง ให้พืชได้รับสารอาหาร โดยจะทำแบบนี้สลับกันไปเรื่อย ๆ จนกว่าพืชจะถึงเวลาเก็บเกี่ยว
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แบบ NFT (Nutrient Film Technique) เป็นประเภทของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่ได้รับนิยมอย่างมากในประเทศไทย สำหรับการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ประเภทนี้จะเรียกอีกอย่างว่าการปลูกผักแบบน้ำบาง โดยจะต้องมีการวางระบบน้ำให้ไหลผ่านพืชอย่างทั่วถึง และมีการแช่รากให้โดนน้ำโดยตรง เพื่อที่จะได้ดูดซึมสารละลายขึ้นไปเลี้ยงลำต้นได้ ที่สำคัญจะต้องมีการวางถาดปลูกให้มีความลาดเอียง เพื่อให้น้ำที่ไหลผ่านรากเป็นแผ่นบาง ๆ คล้ายฟิล์ม
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ระบบ Nutrient Flow Technique (NFLT) เป็นรูปแบบที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตร เนื่องจากจะต้องมีการวางระบบน้ำ พร้อมทั้งติดตั้งปั๊มน้ำ เพื่อทำให้เกิดการไหลเวียนของน้ำ และช่วยให้พืชได้รับสารละลายอย่างทั่วถึงตลอด 24 ชั่วโมง จึงเป็นรูปแบบการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่ใช้งบประมาณที่สูง
บ้านเดี่ยวและบ้านแฝด Modern Japanese ใกล้ถนนรังสิต - นครนายก และวงแหวนกาญจนาฯ ด่านธัญบุรี เชื่อมต่อทุกเส้นทางสะดวกสบาย พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน
ราคาเริ่มต้นที่ 3.99ล้านบาท
การปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์เป็นรูปแบบการปลูกผักด้วยน้ำ ซึ่งสามารถใช้ภาชนะได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ใช้ปลูกผัก ดังนี้
กล่องโฟมเป็นภาชนะที่หลาย ๆ คนใช้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เพราะหาได้ง่าย และราคาไม่แพง สำหรับบ้านที่มีใดที่มีกล่องโฟมอยู่แล้ว ให้เจาะรูบนกล่องโฟม โดนเว้นให้มีความห่างอย่างเหมาะสม เพื่อเผื่อพื้นที่ให้พักได้เติบโต แล้วใส่น้ำลงในกล่องโฟม เพียงเท่านี้ก็จะได้อุปกรณ์สำหรับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ง่าย ๆ แล้ว
เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่สามารถใช้ในการปลูกผักได้ ถือเป็นอุปกรณ์ง่าย ๆ ปลูกได้ไม่ซับซ้อน โดยการตัดขวดน้ำ 1 ใน 3 แล้วใช้ด้านปากขวดคว่ำลงบนขวดอีกส่วนที่ตัดไว้ แล้วใช้ฟองน้ำจุกที่ปากขวด เพียงเท่านี้ก็จะได้ภาชนะสำหรับการปลูกผักที่ง่าย ประหยัด เหมาะสำหรับคนที่มีพื้นที่น้อย อย่างบ้านแฝด หรือผู้ที่พักอาศัยในคอนโด
สำหรับบ้านใดที่พอจะมีพื้นที่ว่าง การใช้ท่อ PVC (Polyvinyl chloride) สำหรับปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ก็เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ เพราะจะช่วยให้ควบคุมแมลงได้ดี อีกทั้งยังทำให้ผักเจริญเติบโตโดยไม่เสี่ยงต่อการติดโรค แต่จะต้องมีการต่อรางท่อ PVC และติดตั้งระบบน้ำ ซึ่งอาจจะมีค่าใช้จ่ายมากขึ้นกว่าสองรูปแบบด้านบน
เมื่อเข้าใจระบบการปลูกไฮโดรโปนิกส์กันแล้วว่ามีแบบใดบ้าง แต่ละระบบเหมาะกับการปลูกผักประเภทใด ขั้นตอนต่อไปก่อนทำการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นจะต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม เพื่อลงมือปลูก ไปดูกันว่าอุปกรณ์ที่ต้องใช้นั้นมีอะไรบ้าง
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ไว้รับประทานเองนั้น นอกจากจะได้ผักสด ๆ ไว้ประกอบอาหารรับประทานกันในครอบครัวแล้ว ยังได้ผักที่มีความสดใหม่ สะอาด ปราศจากการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก
เพียงเท่านี้เราก็จะได้ผักไฮโดรโปนิกส์สด ๆ ไว้รับประทานเองแล้ว แต่ระหว่างที่ปลูกควรหมั่นสังเกตระดับน้ำอยู่เสมอ หากระดับน้ำลดลงไป ควรเติมน้ำ และรักษาระดับของน้ำให้สูงถึงถ้วยปลูกอยู่เสมอ ที่สำคัญจะต้องมีการเปลี่ยนสารละลายทุก ๆ 2-3 สัปดาห์ เพื่อที่ผักจะได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่
หลาย ๆ คนอาจจะมีประสบการณ์ไม่ดีกับการรับประทานผักไฮโดรโปนิกส์ เพราะมีรสชาติที่ขม จนทนรับประทานต่อไม่ไหว สำหรับผักไฮโดรโปนิกส์นั้น จริง ๆ แล้วไม่ได้มีรสชาติที่ขม แต่ที่หลายคนกินแล้วรู้สึกขมนั้นเกิดจากการรับประทานผักไฮโดรโปนิกส์ที่มีการเก็บเกี่ยวก่อนถึงช่วงเก็บเกี่ยว หรือปล่อยให้ผักแก่แล้วจึงเก็บเกี่ยวก็จะทำให้ผักนั้นมีรสชาติขม นอกจากนี้การเก็บเกี่ยวในช่วงที่แดดจัด หรือช่วงที่ให้สารละลายมีความเข้มข้นมาก ผักก็จะมียางเยอะจนทำให้ผักนั้นมีรสชาติขมได้ สำหรับเคล็ดลับการเก็บผักไฮโดรโปนิกส์ไม่ให้ขมนั้นจะต้องเก็บเกี่ยวตามอายุการเก็บเกี่ยว ซึ่งมีระยะเวลาประมาณ 38-45 วัน และควรเก็บในช่วงเช้าหรือเย็น เวลาที่แดดไม่จัด นอกจากนี้การแช่น้ำทิ้งไว้ 30 นาทีก่อนรับประทานยังช่วยลดรสชาติขมของผักได้อีกด้วย
บ้านทำเลดี จากแสนสิริ ใกล้ทางด่วน และพระราม 3
ราคาเริ่มต้นที่ 5.99ล้านบาท
ผักไฮโดรโปนิกส์นั้นเป็นรูปแบบของการปลูกผักโดยใช้น้ำ ซึ่งสามารถปลูกผักได้หลายชนิด แต่จะต้องเลือกระบบที่ใช้ปลูกให้มีความเหมาะสม สำหรับผักที่จะมาแนะนำให้ปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์มีด้วยกัน ดังนี้
กรีนโอ๊คและเรดโอ๊คเป็นผักสลัดที่มีรูปร่างหน้าตาที่คล้ายกัน โดยจะมีต้นที่เป็นทรงพุ่ม ใบมีลักษณะที่หยิก และซ้อนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่สี โดยกรีนโอ๊คจะมีสีเขียว และเรดโอ๊คใบเป็นสีแดง รสชาติของกรีนโอ๊ค และเรดโอ๊คนั้นจะมีความฉ่ำ กรอบ รับประทานง่าย มีวิตามิน และแร่ธาตุที่สูง อีกทั้งยังมีกากใยที่ช่วยให้ขับถ่ายได้ดี เหมาะสำหรับทำสลัด หรือจะกินแกล้มกับน้ำพริกก็อร่อยไปอีกแบบ สำหรับการปลูกกรีนโอ๊คและเรดโอ๊คเหมาะสำหรับระบบ DFT เพราะระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวนั้นสั้น ที่สำคัญจะต้องเลือกทำเลที่โดนแดดตลอด เพราะผักชนิดนี้ชอบแสงแดด
บัตเตอร์เฮดเป็นผักสลัดชนิดหนึ่ง ที่มีลักษณะปลายใบมนกลม ขอบใบหยิกเล็กน้อย และใบซ้อนกันเป็นพุ่มคล้ายกลีบดอกไม้ สำหรับบัตเตอร์เฮดเป็นผักที่มีระยะเวลาในการปลูกประมาณ 44 - 55 วัน นิยมปลูกด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์แบบ DFT อุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกากใยที่ช่วยให้ชับถ่ายดี อีกทั้งยังมีวิตามินบี และวิตามินซีสูง ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้มีความแข็งแรง ไม่ป่วยได้ง่าย ๆ สำหรับใครที่อยู่ในช่วงควบคุมน้ำหนัก การรับประทานบัตเตอร์เฮดนั้นช่วยได้เพราะมีปริมาณแคลอรี่ที่ต่ำ
ฟิลเลย์ไอซ์เบิร์กเป็นผักสลัดที่ลำต้นมีความอวบน้ำ ปลายใบหยิกเป็นฝอย ให้รสชาติที่กรอบ ฉ่ำ สำหรับฟิลเลย์ไอซ์เบิร์กเป็นผักสลัดที่สามารถปลูกได้ง่าย มีอายุในการเก็บเกี่ยวประมาณ อายุ 35 – 45 วัน ซึ่งถือว่าสั้น จึงเหมาะกับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ด้วยระบบ DFT และจะต้องเลือกสถานที่ปลูกที่โดนแดดตั้งแต่ 6 ชั่วโมงต่อวันขึ้นไป เพื่อให้ผักมีการเจริญเติบโตที่ดี ฟิลเลย์ไอซ์เบิร์กเป็นผักที่สามารถทำได้หลายเมนู ไม่ว่าจะทำสลัด ทำแซนด์วิช หรือกินเป็นผักเคียงก็อร่อย
โหระพา กะเพรา และสะระแหน่เป็นผักไทย ๆ ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ สำหรับครอบครัวใดที่ทำเมนูอาหารไทยบ่อย ๆ แนะนำว่าควรปลูกผักเหล่านี้ติดไว้ เพราะเด็ดรับประทานง่าย อีกทั้งยังนำยอดมาปักชำได้ง่าย และเจริญเติบโตได้ดี ให้ผลผลิตไวกว่าการเพาะด้วยเมล็ด นอกจากโหระพา กะเพรา และสะระแหน่ ขึ้นฉ่ายก็ยังปลูกในน้ำได้ดีกว่าการปลูกที่ดินเช่นกัน
ผักบุ้งเป็นผักที่หลาย ๆ คนคาดไม่ถึงว่าจะสามารถปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ได้ สำหรับการปลูกผักบุ้งนั้นสามารถปลูกได้ทั้งแบบระบบน้ำนิ่ง และระบบ DFT โดยเจาะรูบนกล่องให้ห่างกันประมาณ 10 เซนติเมตร เนื่องจากลำต้นของผักบุ้งมีความเรียวยาว หากปลูกห่างกันมากเกินไปอาจทำให้ลำต้นล้มได้ง่าย การปลูกผักบุ้งด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์นั้นจะเจริญเติบโตได้เร็วกว่าการปลูกในดิน อีกทั้งผักบุ้งยังทำได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็นเมนูยอดฮิตอย่างผัดผักบุ้งไฟแดง ยำผักบุ้งทอดกรอบ หรือจะนำมาทำชาบูก็อร่อยไม่แพ้เมนูอื่น ๆ เลย
การปลูกผักแต่ละแบบก็จะมีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป สำหรับประโยชน์ของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นมี ดังนี้
การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นเป็นรูปแบบในการปลูกผักโดยใช้น้ำ และสารละลาย เพื่อให้พืชมีการเจริญเติบโตที่ดี ซึ่งรูปแบบการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ที่นิยมในประเทศไทยคือ DFT และ NFT ส่วนผักที่นิยมปลูกส่วนใหญ่จะเป็นผักสลัด อย่างกรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค หรือบัตเตอร์เฮด นอกจากนี้ผักไทยอย่างผักบุ้ง โหระพา ขึ้นฉ่าย และสะระแหน่ยังสามารถปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์ได้เช่นกัน ที่สำคัญยังให้ผลผลิตที่ดีกว่าการปลูกในดินด้วย แต่ก่อนที่จะปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์จะต้องมีการเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้มีความพร้อม ทั้งเมล็ดพันธุ์ ถ้วยปลูก ฟองน้ำ และสารละลาย สำหรับวิธีการปลูกก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียง เพาะกล้าก่อนที่จะนำไปลงในภาชนะปลูก และคอยสำรวจระดับน้ำ พร้อมทั้งเปลี่ยนสารละลายทุก ๆ 3-4 สัปดาห์ เพื่อให้ผักมีการเจริญเติบโตที่ดี
ขอบคุณที่มา บ้านและสวน, Spring Green Evolution, kapook.com, H2O Hydro Garden, nsru.ac.th, ResearchGate, thaihydrohobby.com
ค่าโอนบ้านพร้อมที่ดิน คอนโด ทาวน์โฮม จ่ายเท่าไหร่ คำนวณยังไง | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ฤกษ์ดี ขึ้นบ้านใหม่ 2567 จะแต่งงาน หรือเปิดร้านค้าก็เฮง | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ประกัน mrta คืออะไร และ 5 เทคนิคลดดอกเบี้ยบ้าน ตัวช่วยหมดหนี้บ้านเร็ว อ่านเพิ่มเติม >
อัพเดทเส้นทาง BTS MRT ปี 2567 พร้อมเจาะทำเลน่าอยู่ น่าลงทุน อ่านเพิ่มเติม >
สัมผัสความอัจฉริยะ ของแบบบ้านสมาร์ทโฮม เพียงปลายนิ้วสัมผัส อ่านเพิ่มเติม >
แอร์มีน้ำหยดเกิดจากอะไร มีอาการเป็นอย่างไรบ้าง อันตรายหรือไม่ มาหาคำตอบเกี่ยวกับน้ำแอร์หยดและวิธีแก้เบื้องต้นให้ตรงจุดได้เลย
พบวิธีกำจัดมดถาวรง่ายๆ ไม่ให้กวนใจ พร้อมสาเหตุว่าทำไมมดถึงชอบเข้ามาในบ้าน จะมีวิธีกำจัดมดอย่างไรบ้าง มาติดตามกันได้เลย
จบปัญหาน้ำรั่วซึม และลามิเนตบวม ที่มาทุกหน้าฝน เพียงค้นหาสาเหตุที่แท้จริง พร้อมแก้ปัญหาให้ตรงจุด พร้อมโบกมือลาปัญหาลามิเนตบวมแบบถาวร
แอร์มีน้ำหยดเกิดจากอะไร มีอาการเป็นอย่างไรบ้าง อันตรายหรือไม่ มาหาคำตอบเกี่ยวกับน้ำแอร์หยดและวิธีแก้เบื้องต้นให้ตรงจุดได้เลย
พบวิธีกำจัดมดถาวรง่ายๆ ไม่ให้กวนใจ พร้อมสาเหตุว่าทำไมมดถึงชอบเข้ามาในบ้าน จะมีวิธีกำจัดมดอย่างไรบ้าง มาติดตามกันได้เลย
ค่าโอนบ้านพร้อมที่ดิน คอนโด ทาวน์โฮม จ่ายเท่าไหร่ คำนวณยังไง | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ฤกษ์ดี ขึ้นบ้านใหม่ 2567 จะแต่งงาน หรือเปิดร้านค้าก็เฮง | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ประกัน mrta คืออะไร และ 5 เทคนิคลดดอกเบี้ยบ้าน ตัวช่วยหมดหนี้บ้านเร็ว อ่านเพิ่มเติม >
อัพเดทเส้นทาง BTS MRT ปี 2567 พร้อมเจาะทำเลน่าอยู่ น่าลงทุน อ่านเพิ่มเติม >
สัมผัสความอัจฉริยะ ของแบบบ้านสมาร์ทโฮม เพียงปลายนิ้วสัมผัส อ่านเพิ่มเติม >