ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือ ภาษีที่ดิน 2568 เป็นภาษีรายปีที่คิดตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศอัตราเสียภาษีใหม่ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2562 และเริ่มจัดเก็บภาษีวันที่ 1 มกราคม 2563 พร้อมทั้งมีการประกาศปรับเปลี่ยนเรื่อยมา ล่าสุดมีการประกาศรายละเอียดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเมื่อปี 2567 จากเดิมที่ต้องเสียภาษีในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ถูกเลื่อนออกไปเป็นเดือนเมษายน 2567 แทน เพื่อแบ่งเบาภาระคนเสียภาษี และในปี 2568 ยังคงใช้อัตราเดิม แม้หลายหน่วยงานจะเรียกร้องให้ภาครัฐทบทวนการเรียกเก็บภาษี เนื่องจากปัจจัยเศรษฐกิจฝืดเคือง หนี้ครัวเรือนพุ่งสูง เหตุนี้หลายคนจึงควรทำความเข้าใจ ศึกษาเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไม่ว่าจะเป็นวัตถุประสงค์ของภาษี จำนวนที่ต้องจ่าย หรือวิธีการปฏิบัติให้รอดภาษี
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือ ภาษีบ้านและที่ดิน ที่หลายคนมักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เป็นภาษีที่จัดเก็บเป็นรายปีตามมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไม่ว่าจะเป็น บ้าน อาคาร ที่ดิน ซึ่งครอบครองโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา เป็นต้น โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2562 และเริ่มจัดเก็บภาษีวันที่ 1 มกราคม 2563 พร้อมยกเลิกการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งภาษีบำรุงท้องที่ เนื่องจากมีความซ้ำซ้อนกัน โดยอัตราภาษีที่เรียกเก็บ จะคำนวณตามประเภทการใช้ประโยชน์
หลังจากมีการประกาศใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอย่างเป็นทางการ ทำให้มีเจ้าของบ้านจำนวนมากพากันไปขึ้นทะเบียนที่อยู่อาศัยที่สำนักงานเขต จนกระทรวงการคลังออกมาชี้แจงกรณีถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างทั้ง บ้าน คอนโด อาคารพาณิชย์หรือตึกแถว ไม่ว่าเพื่ออยู่อาศัยเองหรือปล่อยให้ผู้อื่นเช่า จำเป็นต้องเสียภาษีบ้านและที่ดินในอัตราเดียวกัน หรือร้อยละ 0.02-0.10% ตามมูลค่าของที่ดิน ทั้งนี้รัฐบาลมีมติชะลอการเก็บภาษีบ้านและที่ดินออกไปก่อน โดยเริ่มเก็บภาษีในอัตรา 50% ในปี พ.ศ. 2567 ภาษีในอัตรา 70% ในปี พ.ศ. 2568 ภาษีในอัตรา 100% ในปี 2569 ของฐานภาษีแต่ละประเภท หรือสามารถดูรายละเอียดอัตราการจัดเก็บ หรือสามารถดูรายละเอียดอัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแต่ละประเภทได้ดังตารางด้านล่าง
ดินเพื่อการอยู่อาศัย คือ ภาษีที่จัดเก็บจากที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ คอนโดมิเนียม หรือห้องชุด
มูลค่าที่ดินและอสังหาฯ |
อัตราการเรียกเก็บภาษี (%) |
อัตราการเรียกเก็บภาษี (คิดตามมูลค่าอสังหาฯ) |
---|---|---|
บ้านและที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาท |
ยกเว้นภาษี |
ยกเว้นภาษี |
บ้านและที่ดินราคา 50 - 75 ล้านบาท |
0.03% |
ล้านละ 300 บาท |
บ้านและที่ดินราคา 75 - 100 ล้านบาท |
0.05% |
ล้านละ 500 บาท |
บ้านและที่ดินราคา 100 ล้านบาทขึ้นไป |
0.1% |
ล้านละ 1,000 บาท |
มูลค่าอสังหาฯ |
อัตราการเรียกเก็บภาษี (%) |
อัตราการเรียกเก็บภาษี (คิดตามมูลค่าอสังหาฯ) |
---|---|---|
บ้านหรือคอนโดไม่เกิน 10 ล้านบาท |
ยกเว้นภาษี |
ยกเว้นภาษี |
บ้านหรือคอนโดราคา 10 - 50 ล้านบาท |
0.02% |
ล้านละ 200 บาท |
บ้านหรือคอนโดราคา 50 - 75 ล้านบาท |
0.03% |
ล้านละ 300 บาท |
บ้านหรือคอนโดราคา 75 - 100 ล้านบาท |
0.05% |
ล้านละ 500 บาท |
บ้านหรือคอนโดราคา 100 ล้านบาทขึ้นไป |
0.1% |
ล้านละ 1,000 บาท |
มูลค่าที่ดินและอสังหาฯ |
อัตราการเรียกเก็บภาษี (%) |
อัตราการเรียกเก็บภาษี (คิดตามมูลค่าอสังหาฯ) |
---|---|---|
บ้านและที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาท |
0.02% |
ล้านละ 200 บาท |
บ้านและที่ดินราคา 50 - 75 ล้านบาท |
0.03% |
ล้านละ 300 บาท |
บ้านและที่ดินราคา 75 - 100 ล้านบาท |
0.05% |
ล้านละ 500 บาท |
บ้านและที่ดินราคา 100 ล้านบาทขึ้นไป |
0.1% |
ล้านละ 1,000 บาท |
ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม คือ ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่นำมาใช้เพื่อประกอบธุรกิจและสร้างรายได้ เช่น อาคารสำนักงาน โกดังสินค้า ร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรม ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า
มูลค่าที่ดินและอสังหาฯ |
อัตราการเรียกเก็บภาษี (%) |
อัตราการเรียกเก็บภาษี (คิดตามมูลค่าอสังหาฯ) |
---|---|---|
ไม่เกิน 50 ล้านบาท |
0.3% |
ล้านละ 3,000 บาท |
50 - 200 ล้านบาท |
0.4% |
ล้านละ 4,000 บาท |
200 - 1,000 ล้านบาท |
0.5% |
ล้านละ 5,000 บาท |
1,000 - 5,000 ล้านบาท |
0.6% |
ล้านละ 6,000 บาท |
5,000 ล้านบาทขึ้นไป |
0.7% |
ล้านละ 7,000 บาท |
ที่ดินเพื่อการเกษตร คือ การใช้ที่ดินเพื่อทำกิจกรรมทางการเกษตรในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทำสวนป่า นาเกลือ หรือเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบริโภค จำหน่าย หรือใช้งานในฟาร์ม
มูลค่าที่ดินและอสังหาฯ |
อัตราการเรียกเก็บภาษี (%) |
อัตราการเรียกเก็บภาษี (คิดตามมูลค่าอสังหาฯ) |
---|---|---|
ไม่เกิน 50 ล้านบาท |
ยกเว้นภาษี |
ยกเว้นภาษี |
50 - 125 ล้านบาท |
0.01% |
ล้านละ 100 บาท |
125 - 150 ล้านบาท |
0.03% |
ล้านละ 300 บาท |
150 - 550 ล้านบาท |
0.05% |
ล้านละ 500 บาท |
550 - 1,050 ล้านบาทขึ้นไป |
0.07% |
ล้านละ 700 บาท |
1,050 ล้านบาทขึ้นไป |
0.0% |
ล้านละ 1,000 บาท |
มูลค่าที่ดินและอสังหาฯ |
อัตราการเรียกเก็บภาษี (%) |
อัตราการเรียกเก็บภาษี (คิดตามมูลค่าอสังหาฯ) |
---|---|---|
ไม่เกิน 75 ล้านบาท |
0.01% |
ล้านละ 100 บาท |
75 - 100 ล้านบาท |
0.03% |
ล้านละ 300 บาท |
100 - 500 ล้านบาท |
0.05% |
ล้านละ 500 บาท |
500 - 1,000 ล้านบาท |
0.07% |
ล้านละ 700 บาท |
1,000 ล้านบาทขึ้นไป |
0.1% |
ล้านละ 1,000 บาท |
สำหรับที่ดินรกร้างหรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้ใช้งาน หรือที่ดินที่สามารถใช้ประโยชน์ได้แต่ปล่อยทิ้งไว้ตลอดทั้งปี จะถูกจัดเก็บภาษีในอัตราที่ค่อนข้างสูง เพื่อกระตุ้นให้เจ้าของที่ดินนำทรัพย์สินมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น การอยู่อาศัย การเกษตร หรือการพาณิชย์ แทนการปล่อยทิ้งไว้โดยเปล่าประโยชน์
มูลค่าที่ดินและอสังหาฯ |
อัตราการเรียกเก็บภาษี (%) |
อัตราการเรียกเก็บภาษี (คิดตามมูลค่าอสังหาฯ) |
---|---|---|
ไม่เกิน 50 ล้านบาท |
0.3% |
ล้านละ 3,000 บาท |
50 - 200 ล้านบาท |
0.4% |
ล้านละ 4,000 บาท |
200 - 1,000 ล้านบาท |
0.5% |
ล้านละ 5,000 บาท |
1,000 - 5,000 ล้านบาท |
0.6% |
ล้านละ 6,000 บาท |
5,000 ล้านบาทขึ้นไป |
0.7% |
ล้านละ 7,000 บาท |
หมายเหตุ: หากปล่อยที่ดินรกร้างว่างเปล่าเกิน 3 ปีติดต่อกัน อัตราภาษีที่ดินจะเพิ่มขึ้น 0.3% ทุก 3 ปี แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 3%
ภาษีที่ต้องจ่าย = (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี
ตัวอย่างการคำนวณ
หากที่ดินรกร้างว่างเปล่ามูลค่า 50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.03% (0-50 ล้านบาท)
50,000,000 x 0.03% = จะต้องเสียภาษี 15,000 บาท
ภาษีที่ต้องจ่าย = (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี
ตัวอย่างการคำนวณ
หากที่ดินมูลค่า 60 ล้านบาท และบ้านมูลค่า 30 ล้านบาท อัตราภาษี 0.05% (75-100 ล้านบาท)
(60,000,000 + 30,000,000) x 0.05% = จะต้องเสียภาษี 45,000 บาท
ภาษีที่ต้องจ่าย = มูลค่าห้องชุด x อัตราภาษี
ตัวอย่างการคำนวณ
หากห้องชุดมูลค่า 30,000,000 บาท อัตราภาษี 0.02% (ไม่เกิน 50 ล้านบาท)
3,000,000 x 0.02% = 6,000 บาท
ณ วินาทีนี้ หลายคนอยากรู้แล้วว่าใครบ้างที่ต้องเสียภาษีบ้านและที่ดิน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นผู้ประเมินภาษีบ้านและที่ดิน และจะส่งแบบประเมินภาษีให้กับผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ดินภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยผู้เสียภาษีต้องจ่ายภาษีภายในวันที่ 30 เมษายนของปีนั้น ๆ หากต้องการชำระแบบผ่อนจ่ายสามารถแจ้งความประสงค์ได้ และจะได้รับอนุญาตให้แบ่งจ่ายเป็น 3 งวด ได้แก่
โดยสามารถชำระภาษีบ้านและที่ดินได้หลายช่องทาง และไม่จำเป็นต้องไปที่สำนักงานเขต หรือ อบต. เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนชำระภาษีได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว อาทิ
มาถึงจุดนี้อยากรู้แล้วว่า อสังหาฯ แบบไหน หรือใครที่ไม่ได้เข้าข่ายเสียภาษีบ้านและที่ดิน ซึ่งก็มีอยู่ด้วยกัน 5 วิธีคือ
สำหรับเอกสารที่ใช้ในการขออนุมัติสินเชื่อบ้านสำหรับคู่รักเพศเดียวกัน ที่จริงแล้วจะไม่ต่างกับเอกสารการกู้บ้านพื้นฐาน โดยแบ่งออกเป็นเอกสารส่วนตัวและเอกสารทางการเงิน กลัวภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทำไม เมื่อเจอข้อเสนอดีๆ ในการซื้อบ้าน
สมัยนี้เชื่อว่ากลุ่มคนวัยทำงาน มนุษย์เงินเดือน มักมีบ้านพักอาศัยกันมากกว่า 1 หลัง เหตุนี้คนที่ครอบครองบ้านหรือคอนโดมักเริ่มได้รับเอกสารแจ้งข้อมูลรายการห้องชุด (ภ.ด.ส.4) จากสำนักงานเขต แต่ไม่ต้องตกใจรีบไปสำนักงานเขตเพื่อขึ้นทะเบียนบ้านหลังที่ 2 เพราะระบบของสำนักงานเขตจะปรับให้เป็นบ้านหลังรองโดยอัตโนมัติ
สำหรับคนที่เป็นนักสะสมอสังหาฯ หรือเป็นนักลงทุนคอนโด มักนิยมซื้อบ้านพักตากอากาศหลากหลายจังหวัด เช่น คอนโดหัวหินคอนโดพัทยาคอนโดขอนแก่นและคอนโดเชียงใหม่เป็นต้น ไม่ว่าจะในเมืองหรือชานเมือง โดยเฉพาะ คอนโดติดรถไฟฟ้า คอนโดใกล้มหาวิทยาลัย ที่มักได้รับความสนใจจากนักลงทุนเสมอๆ แน่นอนเมื่อมีการประกาศใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 และเก็บภาษีจริงมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน เหล่านักลงทุนอาจหนาวๆ ร้อนๆ กลัวโดนภาษีล้านละ 3,000 บาท กรณีนี้แนะนำให้โอนถ่ายบ้าน คอนโดที่อยู่ในมือให้ลูกหลาน เพื่อเป็นการช่วยลดภาระภาษี เผย 3 เคล็ด (ไม่) ลับ ซื้อบ้านผ่านง่าย ไม่นก
เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งกรณีที่เสี่ยงต่อการโดนภาษี เพราะไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน แนะนำว่าให้รีบเอาชื่อเข้าทะเบียนบ้านคอนโด จะเป็นชื่อเจ้าของเองหรือชื่อญาติคนอื่นก็ได้ เพื่อไม่ให้โดนภาษีล้านละ 3,000 บาท ซึ่งสามารถเช็กอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามที่กระทรวงการคลังกำหนด
หากไม่ชำระภาษีบ้านและที่ดินตามที่กฎหมายกำหนด จะเกิดผลกระทบ และบทลงโทษ ดังต่อไปนี้
Q :
A :
กรณีนี้ไม่ต้องเสียภาษี เพราะเป็นบ้านหลังแรกหรือบ้านหลังหลักที่เจ้าของบ้านและที่ดินเป็นบุคคลธรรมดา มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และมีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท จึงถูกยกเว้นการจัดเก็บภาษี
Q :
A :
กรณีนี้ถือว่าเป็นการซื้อคอนโดเพื่ออยู่อาศัยเป็นบ้านหลังที่ 2 และคอนโดมีมูลค่าไม่ถึง 5 ล้าน จะได้รับการยกเว้นจัดเก็บภาษี ตามที่ พรบ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกำหนด
Q :
A :
หากเป็นที่ดินเกษตรกรรม และมีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
Q :
A :
หากเป็นที่ดินเกษตรกรรม และมีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นภาษี
สำหรับใครที่อยากซื้อบ้าน ลงทุนคอนโด แล้วใจคอไม่ค่อยดีกลัวโดนภาษี ตอนนี้ขอให้วางใจ หากเข้าข่ายการเอาตัวรอดในข้างต้น ประกอบกับตอนนี้แสนสิริมีโปรโมชันข้อเสนอสุดพิเศษพบโปรโมชัน บ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม และคอนโดมิเนียม พร้อมสิทธิพิเศษมากมาย ไม่ว่าจะเป็นส่วนลด แพ็กเกจ หรือสิ่งดีๆ ที่คัดสรรมาเฉพาะสำหรับลูกค้าแสนสิริที่ไม่ควรพลาด
ที่มา:fpo.go.th,dla.go.th DDproperty
พบกับ โปรฯ ได้ทุกอย่าง! บ้านเดี่ยว คอนโด ทาวน์โฮมจากแสนสิริ ลดสูงสุด 5 ล้าน* ฟรี! กิน-อยู่-ผ่อน สูงสุด 36 เดือน* วันนี้ - 31 ส.ค. 68
ซื้อบ้านควรหันทิศไหนดี ทิศใต้หรือทิศเหนือตามฮวงจุ้ย อ่านเพิ่มเติม >
ดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 1.75% แล้วคนซื้อบ้านได้ประโยชน์อะไร อ่านเพิ่มเติม >
ผ่อนคอนโดเดือนละ 3,000-5,000 ทำได้จริงหรือหลอก? | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
รวมมาตรการกระตุ้นซื้อบ้าน อสังหา 2568 ลดค่าโอน ดอกเบี้ยถูก | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ส้วมตัน ชักโครกกดไม่ลง มีสาเหตุมาจากอะไร พร้อมวิธีแก้ส้วมตันด้วยตัวเอง อ่านเพิ่มเติม >
ผ่อนคอนโดเดือนละเท่าไหร่ถึงผ่อนคอนโดราคาล้านต้นๆ ได้ เงินเดือนเท่านี้ กู้ได้เท่าไหร่ แล้วจะผ่อนไหวมั้ย ทั้งหมดนี้แสนสิริมีคำตอบ
บ้านควรหันทิศไหนดี ทิศใต้หรือทิศเหนือตามฮวงจุ้ย ที่จะช่วยให้อยู่แล้วปัง อยู่แล้วสบายทั้งครอบครัว มีทิศไหนบ้าง ต้องรีบไปดูกัน
เงินเดือน 20,000 กู้ซื้อบ้าน และผ่อนบ้านได้ล้านละเท่าไหร่ กับเคล็ดลับกู้บ้านด้วยการประเมินความสามารถของตนเองจากสูตรคำนวณเบื้องต้น
ผ่อนคอนโดเดือนละเท่าไหร่ถึงผ่อนคอนโดราคาล้านต้นๆ ได้ เงินเดือนเท่านี้ กู้ได้เท่าไหร่ แล้วจะผ่อนไหวมั้ย ทั้งหมดนี้แสนสิริมีคำตอบ
บ้านควรหันทิศไหนดี ทิศใต้หรือทิศเหนือตามฮวงจุ้ย ที่จะช่วยให้อยู่แล้วปัง อยู่แล้วสบายทั้งครอบครัว มีทิศไหนบ้าง ต้องรีบไปดูกัน
ซื้อบ้านควรหันทิศไหนดี ทิศใต้หรือทิศเหนือตามฮวงจุ้ย อ่านเพิ่มเติม >
ดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 1.75% แล้วคนซื้อบ้านได้ประโยชน์อะไร อ่านเพิ่มเติม >
ผ่อนคอนโดเดือนละ 3,000-5,000 ทำได้จริงหรือหลอก? | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
รวมมาตรการกระตุ้นซื้อบ้าน อสังหา 2568 ลดค่าโอน ดอกเบี้ยถูก | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ส้วมตัน ชักโครกกดไม่ลง มีสาเหตุมาจากอะไร พร้อมวิธีแก้ส้วมตันด้วยตัวเอง อ่านเพิ่มเติม >