โดย อารยา ศิริพยัคฆ์
อัปเดต :  17/07/2025
ทะเบียนบ้านสำคัญอย่างไร เจ้าบ้านกับเจ้าของบ้านต่างกันอย่างไร

เรื่องของ “ทะเบียนบ้าน” เป็นสิ่งที่คนซื้อบ้าน ซื้อคอนโด ทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการย้ายทะเบียนบ้าน หรือแม้แต่การแจ้งสมาชิกเข้ามาอยู่บ้าน ซึ่งแน่นอนบางคนอาจกำลังสงสัยว่า เจ้าบ้านกับเจ้าของบ้านมีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร รวมไปถึงเรื่องของเอกสารการขอทะเบียนบ้าน และขั้นตอนทางกฎหมายที่คนซื้อบ้านจำเป็นต้องรู้


สาระสำคัญของทะเบียนบ้าน


ทะเบียนบ้านคืออะไร?

ทะเบียนบ้าน คือ เอกสารทางราชการประเภทหนึ่งที่ออกโดยนายทะเบียนของที่ทำการประจำท้องที่นั้นๆ (เช่นสำนักงานเขต หรือ ที่ว่าการอำเภอ) โดยทะเบียนบ้านเป็นเอกสารที่แสดงเลขประจำบ้านและรายชื่อบุคคลทั้งหมดที่อยู่ในบ้าน ทั้งนี้รายละเอียดภายในทะเบียนบ้านจะประกอบไปด้วย


  1. ข้อมูลเกี่ยวกับบ้าน

  • เลขรหัสประจำบ้าน คือ หมายเลข 11 หลักที่กรมการปกครองกำหนดขึ้น เพื่อใช้ระบุที่อยู่อาศัยแต่ละแห่งในประเทศไทย โดยแต่ละบ้านจะมีรหัสไม่ซ้ำกัน รหัสนี้จะปรากฏอยู่ในทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน ประกอบด้วย
    • หลักที่ 1-4 ของเลขรหัสประจําบ้าน คือ เลขที่สำนักทะเบียนตามรหัสจังหวัด อำเภอและตำบลของประเทศไทย
    • หลักที่ 5-10 เป็นเลขลำดับเฉพาะของบ้านแต่ละหลังในสำนักทะเบียนนั้นๆ ตามที่เจ้าหน้าที่ได้กำหนด
    • ส่วนหลักที่ 11 เป็นเลขสำหรับใช้ตรวจสอบความถูกต้องของเลขประจำบ้านทั้งหมด
  • สำนักทะเบียนระบุชื่อท้องถิ่น ซึ่งจะสอดคล้องกับเลขรหัสประจําบ้านคือ 4 หลักแรก
  • รายการที่อยู่ ประกอบไปด้วยข้อมูล เช่น บ้านเลขที่ หมู่ ถนน แขวง เขต จังหวัด
  • ชื่อหมู่บ้าน ระบุชื่อหมู่บ้านหรือชื่อโครงการ
  • ชื่อบ้าน ระบุชื่อหมู่บ้าน
  • ประเภทบ้าน อาคารชุด ตึกแถว
  • ลักษณะบ้าน อาคารชุด ตึกเดี่ยว ตึกแฝด
  • วัน เดือน ปี ที่ได้กำหนดบ้านเลขที่


  1. ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล

  • สถานภาพ ชื่อบุคคลในทะเบียนบ้านจะมีสถานะ 2 ประเภท ได้แก่ เจ้าบ้านซึ่งเป็นหัวหน้าผู้ครอบครองบ้าน และผู้อยู่อาศัยซึ่งเป็นผู้ที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
  • ข้อมูลทั่วไป เป็นข้อมูลเฉพาะ ได้แก่ ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัวประชาชน ชื่อบิดามารดา สัญชาติ เพศ วันเดือนปีเกิด และประวัติการย้ายที่อยู่




เจ้าบ้านกับเจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?

หากใครสังเกตในทะเบียนบ้านมักจะมีคำว่า “เจ้าบ้าน” ปรากฎอยู่ แน่นอนว่ายังมีหลายคนที่ไม่เข้าใจหน้าที่ที่แท้จริงว่าเจ้าบ้านคืออะไร แตกต่างกันอย่างไรกับเจ้าของบ้าน โดยสามารถแยกบทบาทและสิทธิทางกฎหมายได้ดังนี้


เจ้าบ้านคืออะไร มีสิทธิหน้าที่ทางกฎหมายอย่างไร?

เจ้าบ้าน คือ บุคคลที่เป็นหัวหน้าครอบครัวและมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการทะเบียนบ้าน โดยเจ้าบ้านไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของบ้านเสมอไป อาจเป็นผู้เช่าหรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าของบ้านให้ดูแลบ้านแทนได้ ทั้งนี้หากเจ้าบ้านย้ายออกจากทะเบียนบ้าน เสียชีวิต สูญหายหรือสาบสูญ จำเป็นต้องติดต่อไปยังสำนักทะเบียน เพื่อทำการแต่งตั้งเจ้าบ้านใหม่จากผู้อาศัยคนใดคนหนึ่งที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน เพื่อดำเนินการทางทะเบียนราษฎรแทน


หน้าที่ของเจ้าบ้าน

เจ้าบ้าน มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 กำหนด อาทิ การแจ้งเกิด-ตาย ย้ายที่อยู่อาศัย ขอเลขที่บ้าน หรือเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับบ้าน ซึ่งสามารถสรุปหน้าที่ของเจ้าบ้านได้ดังนี้

  • แจ้งคนเกิดในบ้าน
  • แจ้งคนตายในบ้าน
  • แจ้งคนย้ายเข้า-ย้ายออก
  • สร้างบ้านใหม่หรือรื้อถอน
  • ขอเลขที่บ้าน


เจ้าของบ้านคืออะไร มีสิทธิหน้าที่ทางกฎหมายอย่างไร?

เจ้าของบ้าน หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน หรือสัญญาซื้อขาย


หน้าที่ของเจ้าของบ้าน

เจ้าของบ้าน มีหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นผู้มีสิทธิ์ในการขาย โอน บ้านและที่ดิน และสามารถโอนถ่ายให้ลูกหลานเป็นเจ้าของบ้านได้




ทะเบียนบ้านมีกี่ประเภท?


ทะเบียนบ้านมีกี่ประเภท


สำหรับประเภทของทะเบียนบ้านในปัจจุบันมีด้วยกันทั้งหมด 5 ประเภท


  1. ทะเบียนบ้านชั่วคราว

เป็นทะเบียนประจำบ้านที่ออกให้กับบ้านที่ปลูกสร้างในที่สาธารณะ หรือโดยบุกรุก ป่าสงวน หรือโดยมิได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือตามกฎหมายอื่น ทั้งทะเบียนบ้านชั่วคราวเป็นเอกสารราชการใช้ได้เหมือนทะเบียนบ้าน และผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านชั่วคราวคงมีสิทธิและ หน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน


  1. ทะเบียนบ้าน (ท.ร.13) เล่มเหลือง

ใช้สำหรับลงรายการที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายแต่อยู่ในลักษณะชั่วคราว หรือเข้าเมืองโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง


  1. ทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) เล่มน้ำเงิน

ใช้สำหรับลงรายการข้อมูลที่อยู่อาศัยของคนที่มีสัญชาติไทย หรือ คนต่างด้าว ที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว


  1. ทะเบียนบ้านชั่วคราวของสำนักทะเบียน

เป็นทะเบียนบ้านที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลาง กำหนดให้ทุกสำนักทะเบียนจัดทำขึ้น เพื่อใช้ลงรายการของบุคคลซึ่งขอแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) เพื่อเดินทางไปต่างประเทศ ให้ทุกบ้านมีเลขประจำบ้าน บ้านใดยังไม่มีเลขประจำบ้าน ๆ ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งเพื่อขอเลขประจำบ้านภายใน 15 วันนับแต่วันสร้างบ้านเสร็จ


  1. ทะเบียนบ้านกลาง

ไม่ใช่ทะเบียนบ้าน แต่เป็นทะเบียนที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนดให้จัดทำขึ้น สำหรับลงรายการบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้านได้




ขอทะเบียนบ้านควรรู้อะไรบ้าง?


เอกสารที่ใช้ขอทะเบียนบ้าน

  • เอกสาร ทร.9 หรือ ใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน ออกโดยหน่วยงานท้องที่ (ผู้ใหญ่บ้าน หรือ อบต.)
  • ใบอนุญาตก่อสร้าง(ใบ อ.1) หรือหนังสือรับรองสิ่งปลูกสร้างตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือ หนังสือสัญญาซื้อขายบ้าน
  • โฉนดที่ดินหรือเอกสารสิทธิ์แสดงการครอบครองที่ดิน
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบ้าน ผู้แจ้งขอทะเบียนบ้าน หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมาย
  • หนังสือมอบอำนาจ ถ้าเจ้าของบ้านไม่สามารถมาติดต่อขอทะเบียนบ้านด้วยตนเอง ได้มอบหมายให้ผู้อื่นมาติดต่อแทน สำหรับเอกสารที่จะต้องใช้ กรณีรับมอบอำนาจ จะมีบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้าน และ เซ็นสำเนาถูกต้องในเอกสารสำคัญอย่างละ 1 ชุด ในเอกสารมอบอำนาจจะต้องมีพยานบุคคล 2 คน ลงชื่อรับทราบด้วย
  • รูปถ่ายสิ่งปลูกสร้างที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ประกอบไปด้วย 4 ด้าน คือ ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านซ้าย และด้านขวาของตัวบ้าน


ขั้นตอนการขอทะเบียนบ้าน

  • ยื่นเอกสารขอทะเบียนบ้าน: เตรียมเอกสารและยื่นคำร้องกับสำนักทะเบียนเขตพื้นที่ของสิ่งปลูกสร้าง โดยในกรุงเทพฯ ยื่นเรื่องได้ที่ฝ่ายทะเบียนสำนักงานเขต ต่างจังหวัดยื่นเรื่องไปที่ฝ่ายทะเบียนที่ว่าการอำเภอ โดยเจ้าของบ้านจะต้องยื่นเอกสารขอทะเบียนบ้านภายใน 15 วัน นับจากวันที่สร้างเสร็จ หากเลยเวลาที่กำหนดจะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
  • ตรวจสอบเอกสาร: เจ้าหน้าที่รับคำร้องและตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร พร้อมดำเนินการออกเลขที่บ้านภายใน 7-30 วัน
  • ส่งมอบและออกเลขที่บ้าน: เจ้าหน้าที่ออกเลขที่บ้าน พร้อมส่งมอบสมุดทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านให้แก่ผู้แจ้ง โดยเจ้าของบ้านสามารถนำเลขที่บ้านไปติดได้เลย
  • ย้ายเข้าทะเบียนบ้าน: เมื่อได้ทะเบียนบ้านแล้วสามารถดำเนินการย้ายชื่อผู้อยู่อาศัยเข้าทะเบียนบ้านได้เลย


ปัจจุบันสามารถขอทะเบียนบ้านออนไลน์ได้แล้ว

เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนทั่วไป ได้มีประกาศให้สามารถแจ้งขอทะเบียนบ้านออนไลน์ หรือ ทะเบียนบ้านดิจิทัล ตามขั้นตอนดังนี้

  • ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน DOPA ผ่านทาง App Store สำหรับ iOS และ Play Store สำหรับ Android
  • นำบัตรประชาชนไปยื่นเรื่องกับนายทะเบียนด้วยตัวเอง ที่สำนักทะเบียนอำเภอ สำนักทะเบียนท้องถิ่น หรือตามที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนด เพื่อยืนยันตัวตนผ่านลายนิ้วมือและใบหน้า และรับรหัสผ่าน (PIN) สำหรับใช้แอปฯ
  • เจ้าหน้าที่ผู้รับลงทะเบียนทำการตรวจสอบหลักฐานและข้อมูล ก่อนเข้าสู่แอปฯ และเลือกใช้บริการตามที่ต้องการ




ขอบ้านเลขที่ ขอทะเบียนบ้าน มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?

เมื่อมีการปลูกสร้างบ้าน เจ้าบ้านจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อขอเลขที่บ้านภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่สร้างเสร็จ ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการขอเลขที่บ้านตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการทะเบียนราษฎร พ.ศ.2551 จะไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้หากเจ้าของบ้านไม่ยื่นขอเลขที่บ้านภายใน 15 วันจะถือว่าละเลยและมีโทษปรับ 1,000 บาท




ทะเบียนบ้านดิจิทัลคืออะไร?

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ กฎกระทรวง กระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดการปฏิบัติงานการ "ทะเบียนบ้าน" ด้วยระบบดิจิทัล ปี 2565 สาระสำคัญของประกาศดังกล่าวได้ระบุในข้อปฏิบัติงานการ "ทะเบียนบ้าน" ด้วยระบบดิจิทัล ปี 2565 โดยให้สำนักงานทะเบียนกลาง จัดให้มีการบริการงานทะเบียนด้วยระบบดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนที่ได้รับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลแล้ว สามารถขอรับบริการผ่านระบบดิจิทัลได้ด้วยตนเอง


ซึ่งปัจจุบันในปี 2568 สามารถใช้บริการดู “ทะเบียนบ้านดิจิทัล” ผ่านแอปพลิเคชัน ThaiD


ทะเบียนบ้านดิจิทัลใช้ทำอะไรได้บ้าง?

  • ใช้ตรวจข้อมูลส่วนบุคคลผ่านระบบฐานข้อมูลประชาชน และการบริการภาครัฐ
  • การจองคิวรับบริการงานทะเบียนล่วงหน้า
  • การแจ้งย้ายที่อยู่
  • บริการในด้านงานทะเบียนราษฎรประเภทอื่นๆ ( เช่น งานทะเบียนราษฎร เช่น การตรวจคัดและรับรองสำเนารายการทะเบียนราษฎร การแจ้งย้ายเข้า/ย้ายออก/ย้ายปลายทางของสมาชิกในบ้าน การแจ้งเกิด การแจ้งตาย )


ขั้นตอนการขอทะเบียนบ้านดิจิทัลมีอะไรบ้าง?

ผู้สนใจสามารถใช้บริการทะเบียนบ้านดิจิทัล สามารถใช้งานได้ผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน โดยจะต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ThaiD” สำหรับระบบปฏิบัติการ iOS ดาวน์โหลดได้ที่ Appstore และสำหรับระบบปฏิบัติการ Android ดาวน์โหลดได้ที่ Playstore




ซื้อบ้านหลายหลัง ชื่อในทะเบียนบ้านทำอย่างไร ซื้อบ้านแต่ให้คนอื่นเป็นเจ้าบ้านได้ไหม?

เรื่องนี้ถือว่าค่อนข้างสำคัญสำหรับคนที่มีบ้านหลายหลัง โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนอสังหาฯ แน่นอนว่าคนเหล่านี้จะมีทะเบียนบ้านหลายฉบับ แต่ทางกฎหมายจำเป็นต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้เพียงฉบับเดียวเท่านั้น โดยสามารถใช้ชื่อฐานะเจ้าบ้านหรือผู้ดูแลบ้านได้ เนื่องจากตามกฎหมายไม่อนุญาตให้บุคคลเดียวกันมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านมากกว่าหนึ่งฉบับในเวลาเดียวกัน เพราะจะกระทบต่อบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ดังนั้นนักลงทุนอสังหาฯ หรือกลุ่มคนทำงานที่ซื้อบ้าน ซื้อคอนโด สามารถใช้วิธีนำชื่อของญาติ พ่อแม่ พี่น้องมาใส่ในทะเบียนบ้านหลังอื่นๆ ได้


นักลงทุนที่มีบ้านหลายหลัง คอนโดหลายห้อง รู้วิธีการแจ้งชื่อในทะเบียนบ้านแล้ว หากอยากเพิ่มจำนวนห้องชุดให้มากกว่านี้ กับโปรโมชันแสนสิริ ที่มอบให้สำหรับผู้ที่จองผ่านช่องทางออนไลน์เท่านั้น




ทะเบียนบ้านปล่อยว่าง ไม่มีเจ้าบ้านได้ไหม?

หลายคนอาจสงสัยว่าจากกรณีข้อที่ 2 หากไม่สามารถหาชื่อญาติ พ่อแม่ พี่น้อง มาใส่ในทะเบียนบ้านได้ สามารถทำให้ชื่อในทะเบียนปล่อยว่างได้หรือไม่ กรณีดังกล่าวสามารถทำได้ แต่ถ้าเกิดวันหนึ่งอยากขายบ้าน ขายคอนโดขึ้นมาและถือครองอสังหาฯ นั้นไม่ถึง 1 ปี จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามที่กฎหมายกำหนด คือ "พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 กำหนดให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยโดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่วันได้มา ดังนั้นหากท่านที่ขายอสังหาฯ ไปโดยไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ"


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษีธุรกิจเฉพาะ จากกรมสรรพากร




วิธีแจ้งชื่อย้ายเข้า-ย้ายออกทะเบียนบ้านทำอย่างไร

การย้ายทะเบียนบ้านเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คนที่ซื้อบ้านหรือคอนโดใหม่ และกำลังมีแผนย้ายบ้านต่างตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับขั้นตอน เอกสาร รวมถึงข้อกำหนดทางกฎหมาย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้


แจ้งชื่อย้ายออกทะเบียนบ้าน

การแจ้งชื่อย้ายออกทะเบียนบ้านจะเป็นหน้าที่ของเจ้าบ้าน ซึ่งจำเป็นต้องย้ายออกภายใน 15 วัน หากเกินตามระยะเวลาที่กำหนด ตามกฎหมายกำหนดให้มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท โดยเจ้าบ้านสามารถยื่นเอกสารกับนายทะเบียนท้องที่ของทะเบียนบ้านเดิม ซึ่งจะผ่านการตรวจสอบเอกสารจากนายทะเบียนก่อนมีการประทับ “ย้าย” หน้าเอกสาร พร้อมมอบเอกสารแจ้งย้ายเข้าต่อไป สำหรับเอกสารที่ใช้ย้ายออกทะเบียนบ้านมีดังนี้

  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมาย)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเอง


แจ้งชื่อย้ายเข้าทะเบียนบ้าน

หลังจากเจ้าบ้านแจ้งเรื่องย้ายออกจากทะเบียนบ้านหลังเดิมแล้ว เจ้าบ้านจำเป็นต้องแจ้งชื่อย้ายเข้าทะเบียนบ้านหลังใหม่ภายใน 15 วัน หากไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด จะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท โดยต้องยื่นเอกสารให้กับนายทะเบียนท้องที่ที่ย้ายเข้า หลังจากนายทะเบียนตรวจสอบแล้วจะทำการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ซึ่งมีเอกสารสำหรับย้ายเข้าทะเบียนบ้านดังนี้

  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
  • ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร. 6) ตอนที่ 1 และ 2 โดยเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว


รู้วิธีการย้ายเข้า ย้ายออกทะเบียนบ้านแล้ว หากใครสนใจอยากย้ายทะเบียนบ้านเข้าโครงการบ้านเดี่ยว บ้านแฝดน่าอยู่ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดโครงการใหม่ อณาสิริ วงแหวน - ลำลูกกา และ อณาสิริ ปิ่นเกล้า - กาญจนาฯ ได้





ทะเบียนบ้านหายต้องทำอย่างไร

สำหรับกรณีของทะเบียนหาย น่าจะเป็นสถานการณ์ที่พบบ่อยสำหรับนักลงทุนที่มีคอนโดหลายห้อง หรือคนที่ซื้อบ้านไว้ให้เช่าหลายหลัง และถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นสามารถยื่นคำร้องกับฝ่ายทะเบียน พร้อมแนบเอกสารหลักฐานได้ดังต่อไปนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน
  • กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน จะต้องมีบัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย หนังสือผู้มอบหมาย ค่าธรรมเนียมในการออกเล่มใหม่ฉบับละ 20 บาท

แหล่งข้อมูล: bora.dopa.go.th

ได้ความรู้เกี่ยวกับทะเบียนบ้านที่เป็นประโยชน์ต่อคนที่กำลังซื้อบ้านในตอนนี้ไปแล้ว สำหรับใครที่กำลังตัดสินใจซื้อบ้านในช่วงนี้ แนะนำให้รีบคว้าโครงการเด่นทำเลดังกับแสนสิริโปรโมชันดีๆ อย่างโปรโมชันบ้านและทาวน์โฮมพร้อมอยู่พร้อมพบประสบการณ์ซื้อบ้าน แสน Smooth ในทุกขั้นตอน




คำถามที่พบบ่อย

Q :

เจ้าบ้านมีสิทธิอะไรบ้าง

A :

เจ้าบ้าน คือ ผู้ที่มีชื่อครอบครองบ้าน ซึ่งตามกฎหมายทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ได้กำหนดให้เจ้าบ้านมีหน้าที่ต้องแจ้งหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นไปแจ้งเรื่องต่อนายทะเบียนเมื่อมีเรื่องต่างๆ ดังนี้

  • แจ้งเกิด เมื่อมีคนเกิดขึ้นมาใหม่ และต้องการนำชื่อเข้าสู่ทะเบียนบ้านหลังนั้นๆ
  • แจ้งตาย เมื่อบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ภายในทะเบียนบ้าน เสียชีวิต
  • แจ้งย้ายคนเข้า-ออก เมื่อมีการย้ายชื่อเข้า หรือย้ายชื่อออก ภายในทะเบียนบ้านนั้นๆ
  • แจ้งขอเลขหมายประจำบ้าน ในกรณีที่มีการรื้อถอนบ้านเดิมและปลูกสร้างบ้านใหม่


Q :

ซื้อบ้านแล้วไม่ย้ายเข้าทะเบียนบ้านได้ไหม

A :

ได้ แต่เบื้องต้นต้องรู้ก่อนว่าตามกฎหมายแล้ว ผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านหลังไหนก็ตาม จะถูกตีความว่าบ้านหลังนั้นเป็นบ้านหลังหลักของคนๆนั้น และสาระสำคัญของกฎหมายทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ก็คือ เราสามารถมีชื่ออยู่ภายในทะเบียนบ้านได้หลังเดียวเท่านั้น


Q :

เจ้าบ้านจำเป็นต้องเป็นเจ้าของบ้านไหม

A :

ไม่จำเป็น เพราะ เจ้าของบ้าน คือ ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อใน โฉนดที่ดิน อันเป็นหลักฐานในการทำสัญญาซื้อขาย กล่าวคือ เป็นผู้ที่มีสิทธิ์ที่จะ จำหน่าย จ่ายโอน ในที่ดินและบ้านหลังนั้น ตามกฎหมายแพ่งและพานิชย์


Q :

ทะเบียนบ้านไม่มีเจ้าบ้านได้ไหม

A :

ทะเบียนบ้านสามารถไม่มีเจ้าบ้านได้ ระบบทะเบียนราษฎร์ หากไม่มีผู้ใดอยู่ในบ้านนั้นเลย ทะเบียนบ้านจะอยู่ในสถานะที่เรียกว่า “บ้านว่าง” (ไม่มีผู้อาศัย) แต่ต้องระวังเรื่องภาษี เพราะหากขายบ้านหรือคอนโดที่ไม่มีชื่อเจ้าของในทะเบียนบ้าน และถือครองยังไม่ถึง 1 ปี จะต้องเสียภาษี เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 กำหนดให้ยกเว้นภาษีเฉพาะกรณีที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 1 ปี


Q :

ชื่อเจ้าบ้านมี 2 คน ได้ไหม

A :

ถ้าในนิยามของคำว่า “เจ้าบ้าน” จะไม่สามารถมีเจ้าบ้านได้ 2 คน เหตุผลเพราะว่าในทะเบียนราษฎร ได้กำหนดไว้แล้วว่า บุคคลคนหนึ่งสามารถมีภูมิลำเนาได้เพียงภูมิลำเนาเดียวเท่านั้น จึงเป็นเหตุให้ผู้เป็นเจ้าของบ้าน สามารถมีชื่อเป็นเจ้าของบ้านได้เพียงที่เดียว


Q :

หากซื้อบ้านแต่ให้คนอื่นเป็นเจ้าบ้าน เปลี่ยนเจ้าบ้านต้องไปที่ไหน และต้องทำอย่างไร

A :

  1. เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน (สำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง, สำเนาทะเบียนบ้าน, หนังสือยินยอมจากเจ้าของกรรมสิทธิ์, หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในตัวบ้าน เช่น โฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย สัญญายกให้)
  2. ติดต่อสถานที่ราชการในเขตพื้นที่ของที่อยู่อาศัย หากบ้านตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ก็ไปที่สำนักงานเขต แต่ถ้าอยู่ต่างจังหวัดสามารถติดต่อได้ที่ว่าการอำเภอ
  3. แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าต้องการเปลี่ยน “เจ้าบ้าน”
  4. กรอกใบคำร้องขอเปลี่ยนเจ้าบ้าน
  5. ยื่นเอกสารทั้งหมดต่อเจ้าหน้าที่
  6. เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเอกสารและดำเนินการเปลี่ยนเจ้าบ้าน
  7. รอรับใบทะเบียนบ้านใหม่


ขอบคุณข้อมูลจาก: สำนักบริหารการทะเบียน

ได้ทุกอย่าง!
ยูนิตบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม ราคาพิเศษ

คู่มืออสังหาฯยอดนิยม

  1. ซื้อบ้านควรหันทิศไหนดี ทิศใต้หรือทิศเหนือตามฮวงจุ้ย อ่านเพิ่มเติม >


  1. ดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 1.75% แล้วคนซื้อบ้านได้ประโยชน์อะไร อ่านเพิ่มเติม >


  1. ผ่อนคอนโดเดือนละ 3,000-5,000 ทำได้จริงหรือหลอก? | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >


  1. รวมมาตรการกระตุ้นซื้อบ้าน อสังหา 2568 ลดค่าโอน ดอกเบี้ยถูก | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >


  1. ส้วมตัน ชักโครกกดไม่ลง มีสาเหตุมาจากอะไร พร้อมวิธีแก้ส้วมตันด้วยตัวเอง อ่านเพิ่มเติม >


คำถามที่พบบ่อย

  • A :
  • - ซื้อบ้าน เป็นการลงทุนระยะยาว แต่สามารถสร้างสินทรัพย์ให้ตัวเองได้ และถ้าเลือกซื้อในทำเลที่ดีมีแนวโน้มที่จะสร้างกำไรได้
    - เช่าบ้าน เหมาะกับคนที่ยังไม่มั่นใจเรื่องทำเล และไม่ต้องการที่จะมีภาระผูกพันระยะยาว แต่ก็จะไม่มีทรัพย์สินเป็นของตัวเอง และค่าเช่าอาจจะเพิ่มขึ้นหรือถูกบังคับให้ย้ายออก หากเจ้าของบ้านต้องการขายหรือใช้งานเอง

    สามารถเลือกดูโครงการบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮมน่าลงทุนที่คุ้มค่าน่าซื้อได้ที่แสนสิริ

โครงการที่น่าสนใจ

โครงการพร้อมอยู่
อณาสิริ บางนา

อณาสิริ บางนา

ทาวน์โฮม บ้านแฝด บรรยากาศทะเลสาบ ฟังก์ชันครบครัน พร้อมส่วนกลางขนาดใหญ่ ใกล้ทางด่วนบางนา กม.26

เริ่มต้นที่ 2.49 ล้านบาท
โครงการพร้อมอยู่
อณาสิริ รามคำแหง

อณาสิริ รามคำแหง

บ้านเดี่ยว พัฒนาการ พร้อมอยู่ สไตล์เมดิเตอร์เรเนียน เพียง 7 นาที* ถึง MRT สายสีส้ม สถานีราษฎร์พัฒนา

เริ่มต้นที่ 3.49 ล้านบาท
โครงการพร้อมอยู่
อณาสิริ กรุงเทพ - ปทุมธานี 2

อณาสิริ กรุงเทพ - ปทุมธานี 2

บ้านเดี่ยว และบ้านแฝด ปทุมธานี สไตล์ญี่ปุ่น ใกล้พื้นที่สีเขียวสนามกอล์ฟขนาดใหญ่ เชื่อมต่อเมืองง่าย ใกล้ 2 ทางด่วน

เริ่มต้นที่ 5.59 ล้านบาท
โครงการพร้อมอยู่
อณาสิริ รังสิต - คลอง 3

อณาสิริ รังสิต - คลอง 3

บ้านเดี่ยว และบ้านแฝด รังสิต สไตล์ Modern Japanese ทำเลใหม่ ใกล้ทางด่วน เข้าออกเมืองได้ 2 เส้นทาง

เริ่มต้นที่ 4.99 ล้านบาท
โครงการพร้อมอยู่
อณาสิริ ศรีนครินทร์ - แพรกษา

อณาสิริ ศรีนครินทร์ - แพรกษา

ทาวน์โฮมใหม่สไตล์เมดิเตอร์เรเนียน ฟังก์ชันครบ ใกล้รถไฟฟ้า BTS สายสีเขียว สถานีแพรกษา และทางด่วน

เริ่มต้นที่ 2.89 ล้านบาท
โครงการพร้อมอยู่
อณาสิริ เวสต์เกต

อณาสิริ เวสต์เกต

บ้านเดี่ยว และบ้านแฝด เวสต์เกต-บางใหญ่ สไตล์เมดิเตอร์เรเนียน ใกล้ MRT คลองบางไผ่ เพียง 5 นาที

เริ่มต้นที่ 5.29 ล้านบาท

บทความที่เกี่ยวข้องกับ “เตรียมตัวก่อนซื้อ”

ผ่อนคอนโดเดือนละ 3,000-5,000 ทำได้จริงหรือหลอก?

ผ่อนคอนโดเดือนละเท่าไหร่ถึงผ่อนคอนโดราคาล้านต้นๆ ได้ เงินเดือนเท่านี้ กู้ได้เท่าไหร่ แล้วจะผ่อนไหวมั้ย ทั้งหมดนี้แสนสิริมีคำตอบ

ซื้อบ้านควรหันทิศไหนดี ทิศใต้หรือทิศเหนือตามฮวงจุ้ย

บ้านควรหันทิศไหนดี ทิศใต้หรือทิศเหนือตามฮวงจุ้ย ที่จะช่วยให้อยู่แล้วปัง อยู่แล้วสบายทั้งครอบครัว มีทิศไหนบ้าง ต้องรีบไปดูกัน

เงินเดือน 20,000 กู้ซื้อบ้าน และผ่อนบ้านได้ล้านละเท่าไหร่

เงินเดือน 20,000 กู้ซื้อบ้าน และผ่อนบ้านได้ล้านละเท่าไหร่ กับเคล็ดลับกู้บ้านด้วยการประเมินความสามารถของตนเองจากสูตรคำนวณเบื้องต้น

ผ่อนคอนโดเดือนละ 3,000-5,000 ทำได้จริงหรือหลอก?

ผ่อนคอนโดเดือนละเท่าไหร่ถึงผ่อนคอนโดราคาล้านต้นๆ ได้ เงินเดือนเท่านี้ กู้ได้เท่าไหร่ แล้วจะผ่อนไหวมั้ย ทั้งหมดนี้แสนสิริมีคำตอบ

ซื้อบ้านควรหันทิศไหนดี ทิศใต้หรือทิศเหนือตามฮวงจุ้ย

บ้านควรหันทิศไหนดี ทิศใต้หรือทิศเหนือตามฮวงจุ้ย ที่จะช่วยให้อยู่แล้วปัง อยู่แล้วสบายทั้งครอบครัว มีทิศไหนบ้าง ต้องรีบไปดูกัน

ไม่พลาด ข่าวสารและบทความดีๆ

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อรับข่าวสาร และข้อมูลสิทธิพิเศษจากแสนสิริก่อนใคร

ประเภทโครงการที่คุณสนใจ


เพื่อให้ท่านทราบวิธีและกระบวนการ ที่เราดำเนินการจัดเก็บข้อมูล วัตถุประสงค์การใช้ข้อมูล ​
ท่านสามารถศึกษารายละเอียด แบบแจ้งเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice) ได้ที่นี่ คลิก

ได้ทุกอย่าง!
ยูนิตบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม ราคาพิเศษ

คู่มืออสังหาฯยอดนิยม

  1. ซื้อบ้านควรหันทิศไหนดี ทิศใต้หรือทิศเหนือตามฮวงจุ้ย อ่านเพิ่มเติม >


  1. ดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 1.75% แล้วคนซื้อบ้านได้ประโยชน์อะไร อ่านเพิ่มเติม >


  1. ผ่อนคอนโดเดือนละ 3,000-5,000 ทำได้จริงหรือหลอก? | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >


  1. รวมมาตรการกระตุ้นซื้อบ้าน อสังหา 2568 ลดค่าโอน ดอกเบี้ยถูก | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >


  1. ส้วมตัน ชักโครกกดไม่ลง มีสาเหตุมาจากอะไร พร้อมวิธีแก้ส้วมตันด้วยตัวเอง อ่านเพิ่มเติม >