โดย Sansiri Editorial Team
อัปเดต :  18/07/2025
อัปเดต :  18/07/2025 ตรวจบ้านโอนบ้าน
ย้ายเข้าทะเบียนบ้าน ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ต้องเตรียมอะไรบ้าง | แสนสิริ

การย้ายทะเบียนบ้านเป็นขั้นตอนสำคัญของการย้ายบ้าน ไม่ว่าจะเป็นการย้ายเข้าทะเบียนบ้านใหม่ หรือย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง การเตรียมเอกสารและขั้นตอนที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ในบทความนี้ แสนสิริจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอน หลักเกณฑ์ และเอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการย้ายทะเบียนบ้านกัน


Highlight



ทะเบียนบ้าน คืออะไร?

กรมการปกครองนิยาม ทะเบียนบ้าน คือ เอกสารที่ใช้แสดงเลขประจำของแต่ละบ้าน รวมทั้งรายชื่อของผู้อยู่อาศัยภายในบ้านหลังนั้นๆ ซึ่งทะเบียนบ้านหนึ่งหลังจะมีจำนวนคนอยู่อาศัยได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ของที่อยู่อาศัย ซึ่งตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข พ.ศ. 2535 กำหนดให้มีคนอยู่อาศัยได้ 1 คน ต่อพื้นที่ 3 ตารางเมตร ทั้งนี้ทั้งนั้น เจ้าบ้านในทะเบียนบ้านจะมีได้แค่ 1 คน


ย้ายเข้าบ้านใหม่วันไหนดี? ฤกษ์ย้ายเข้าบ้านใหม่ สิงหาคม 2568 ตามวันเกิด




ย้ายทะเบียนบ้าน บ้านเดี่ยว เมเบิล บางนา กม.26


ย้ายทะเบียนบ้าน คืออะไร

การย้ายทะเบียนบ้าน คือ การแจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ของบุคคลจากทะเบียนบ้านเดิมไปยังทะเบียนบ้านใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการย้ายภายในเขตเดียวกัน ข้ามเขต หรือข้ามจังหวัด โดยการย้ายนี้จะส่งผลโดยตรงต่อข้อมูลในฐานทะเบียนราษฎร ซึ่งถือเป็นข้อมูลสำคัญที่ใช้ประกอบการดำเนินการทางราชการหลายเรื่อง เช่น การทำบัตรประชาชน การใช้สิทธิเลือกตั้ง การขอรับสวัสดิการจากรัฐ และการยืนยันตัวตนในธุรกรรมต่าง ๆ


ในอดีต การย้ายทะเบียนบ้านจำเป็นต้องเริ่มต้นที่ต้นทางก่อน คือ ผู้ย้ายต้องแจ้งย้ายออกจากบ้านเดิมก่อน แล้วจึงนำเอกสารไปยื่นแจ้งย้ายเข้าที่บ้านปลายทาง แต่ปัจจุบัน ระบบได้เปิดทางเลือกให้สามารถดำเนินการ "ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง" ได้เช่นกัน โดยเจ้าบ้านปลายทางสามารถเป็นผู้ดำเนินการแจ้งย้ายเข้าให้ได้ ทำให้กระบวนการมีความยืดหยุ่นและสะดวกมากขึ้น




ทำไมต้องย้ายทะเบียนบ้าน การย้ายทะเบียนบ้านมีความสำคัญอย่างไร?

ทะเบียนบ้านถือเป็นเอกสารทางราชการที่ใช้ระบุตัวตนและถิ่นที่อยู่อาศัยของบุคคลอย่างเป็นทางการตามกฎหมายไทย ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพราะมักถูกใช้เป็นหลักฐานในการทำธุรกรรมหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการยืนยันสิทธิ์ในการเลือกตั้ง การลงทะเบียนเรียนในโรงเรียนของรัฐ การขอรับสิทธิรักษาพยาบาล เช่น สิทธิบัตรทอง การเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ รวมถึงการทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น การขอสินเชื่อ การเปิดบัญชีธนาคาร หรือการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์หลายกรณีที่ยังต้องใช้ทะเบียนบ้านฉบับจริงประกอบการดำเนินการ


นอกจากนี้ ทะเบียนบ้านยังเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของบุคคล เช่น การขอหนังสือเดินทาง ทะเบียนราษฎร หรือเอกสารราชการอื่น ๆ ดังนั้น การมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ตรงกับที่อยู่อาศัยจริงจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะช่วยให้สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องและสะดวกยิ่งขึ้น



การย้ายเข้า - ออกทะเบียนบ้านมีขั้นตอนการดำเนินการ และใช้เอกสารอะไรบ้าง


การย้ายเข้า - ออกทะเบียนบ้านมีขั้นตอนการดำเนินการ และใช้เอกสารอะไรบ้าง?


การย้ายเข้าทะเบียนบ้านมีขั้นตอนอย่างไร?

  1. ยื่นเอกสาร และหลักฐานต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่จะย้ายเข้า
  2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการใบแจ้งการย้ายที่อยู่และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) โดยตรวจสอบรายการให้ถูกต้องตรงกัน แล้วมอบสำเนาทะเบียนบ้านและ หลักฐานคืนให้ผู้แจ้ง
  3. นายทะเบียนมอบสำเนาทะเบียนบ้านและ หลักฐานคืนให้ผู้แจ้ง


หมายเหตุ: เมื่อมีผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ย้ายเข้า หากไม่ปฏิบัติตามการแจ้งย้ายเข้า 15 วันนับแต่วันที่ย้ายเข้าอยู่ในบ้าน จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามกฎหมาย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้:


  1. ไม่เกินหกเดือน คิดค่าธรรมเนียม ครั้งละ 30 บาท
  2. เกินหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปี คิดค่าธรรมเนียม ครั้งละ 50 บาท
  3. เกินหนึ่งปี คิดค่าธรรมเนียมเพิ่มจาก 50 บาท แล้วต้องไม่เกิน 500 บาท


ย้ายเข้าทะเบียนบ้าน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

  • กรณีผู้แจ้งย้ายเป็นเจ้าบ้าน

    • ทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
    • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
    • ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร. 6) ตอนที่ 1 และ 2
  • กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน

    • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน หรือ สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าบ้านพร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง
    • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้าย
    • ทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
    • ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร. 6) ตอนที่ 1 และ 2 ซึ่งเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว
    • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน


การย้ายออกทะเบียนบ้านมีขั้นตอนอย่างไร?

  • ยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ถึงแม้ว่าเจ้าบ้านไม่สามารถไปแจ้ง ย้ายออกให้ได้ผู้ที่ย้ายอยู่สามารถขอทำหน้าที่เจ้าบ้านเพื่อย้ายชื่อตนเองออกได้)
  • นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการบุคคลที่จะย้ายออกลงรายการในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ และจำหน่าย รายการบุคคลที่ย้ายออกในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) โดยจะประทับคำว่า "ย้าย" สีน้ำเงินไว้หน้ารายการ ฯ และระบุว่าย้ายไปที่ใด
  • นายทะเบียนมอบหลักฐานการแจ้งคืนผู้แจ้ง พร้อมทั้งใบแจ้งย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 และ 2 เพื่อนำไปแจ้งย้ายเข้าต่อไป


หมายเหตุ: เมื่อผู้อยู่ในบ้านย้ายที่อยู่จากบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายออกภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้อยู่ในบ้านย้ายออก หากไม่ปฏิบัติตามการแจ้งย้ายออก 15 วันนับแต่วันที่ย้ายเข้าอยู่ในบ้านหากไม่ปฏิบัติตาม เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายให้คิดค่าธรรมเนียมตามอัตราต่อไปนี้


  1. การแจ้งหรือขอที่พ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายไม่เกินหกเดือน คิดค่าธรรมเนียม ครั้งละ 30 บาท
  2. การแจ้งหรือพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายเกินหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปี คิดค่าธรรมเนียม ครั้งละ 50 บาท
  3. การแจ้งหรือขอที่พ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายเกินหนึ่งปี คิดค่าธรรมเนียมเพิ่มจาก (2) แล้วต้องไม่เกิน 500 บาทเศษของเดือน ถ้าเกินสิบห้าวันให้นับเป็นหนึ่งเดือน

ย้ายออกทะเบียนบ้านต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

กรณีย้ายออก หลายคนอาจสงสัยว่า ย้ายทะเบียนบ้าน เจ้าตัวต้องไปไหม? เช่นเดียวกับการย้ายเข้า สามารถแสดงเอกสารแทนได้ โดยเอกสารที่ต้องใช้มีดังนี้


  • กรณีผู้แจ้งย้ายเป็นเจ้าบ้าน

    • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
    • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน

    • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน
    • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน หรือ สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าบ้านพร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง
    • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้าย
    • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)


ซื้อบ้านต้องเตรียมอะไรบ้างกับ 5 สิ่งที่คนอยากได้บ้านต้องรู้




ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง โครงการพร้อมอยู่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม อณาสิริ


ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง คืออะไร?

การย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง คือ การดำเนินการแจ้งย้ายเข้าไปยังทะเบียนบ้านใหม่ที่ตั้งอยู่นอกเขตท้องที่ของทะเบียนบ้านเดิม เช่น การย้ายจากต่างจังหวัดเข้ากรุงเทพฯ หรือย้ายข้ามอำเภอในคนละจังหวัด โดยไม่จำเป็นต้องไปแจ้งย้ายออกจากต้นทางก่อน เหมือนในระบบเดิมทุกกรณี


ปัจจุบัน ระบบทะเบียนราษฎรเปิดให้สามารถดำเนินการย้ายได้ที่ปลายทางเพียงแห่งเดียว โดยผู้ย้ายสามารถติดต่อสำนักงานเขตหรืออำเภอของบ้านปลายทางเพื่อแจ้งย้ายเข้าได้ทันที หากมีเอกสารครบถ้วนและได้รับความยินยอมจากเจ้าบ้าน การย้ายจะมีผลอัปเดตในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรโดยอัตโนมัติ




การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางมีขั้นตอน และต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?

ในกรณีการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง จะทำให้เราประหยัดเวลาในการดำเนินเรื่องหลายๆ ด้าน โดยมีเอกสารที่ต้องเตรียม และขั้นตอนในการทำ ดังนี้


ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง?

  1. กรณีเจ้าบ้านมาเอง หรือ ผู้แจ้งย้ายเป็นเจ้าบ้าน

    • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้าย
    • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้าอยู่ใหม่
    • สำเนาทะเบียนบ้านปลายทาง (ฉบับเจ้าบ้าน)
  2. กรณีเจ้าบ้านไม่ได้มาด้วย หรือ ผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน

    • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของบ้าน / สำเนาบัตรประชาชนของเจ้าบ้าน พร้อมเซ็นสำเนาถูกต้อง
    • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้งย้าย
    • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ของบ้านที่จะย้ายเข้า
    • หนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าของเจ้าบ้านที่จะเข้าอยู่ใหม่ (กรณีเจ้าบ้านไม่สามารถไปแจ้งย้ายได้)
    • หนังสือมอบหมายจากผู้ย้ายที่อยู่ บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมด้วยสำเนาบัตรดังกล่าวที่ลงชื่อเจ้าของบัตรกำกับไว้ ทั้งผู้มอบและผู้รับมอบ

ข้อแนะนำ ในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้ผู้อื่นมาดำเนินการแทน ทั้ง 2 ฝ่ายควรเป็นผู้ที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันไม่ว่าจะเป็นญาติ คนรู้จัก ผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้ที่มีนิติสัมพันธ์


เพียงเท่านี้คุณก็จะได้ทะเบียนบ้านเล่มใหม่ที่มีรายชื่อของคุณอยู่ในนั้นแล้ว อย่างไรก็ตาม มีเงื่อนไขเพิ่มเติมในเรื่องของการได้สิทธิเป็นเจ้าบ้าน ดังต่อไปนี้


  • การย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาอยู่บ้านที่เพิ่งสร้างเสร็จใหม่ โดยยังไม่มีเจ้าบ้าน ผู้แจ้งย้ายจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินอย่างถูกต้องทันที ดังนั้นถ้าคุณเป็นเจ้าของบ้านตัวจริงก็ควรมาแจ้งย้ายด้วยตนเองจะดีกว่า เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น
  • การย้ายทะเบียนบ้านโดยที่ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินตั้งแต่แรก จะถือว่าย้ายเข้ามาเป็นเพียงผู้อาศัยเท่านั้น


ขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง

เมื่อเตรียมเอกสารทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว คุณสามารถทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้เลย


  1. เตรียมเอกสารทั้งหมดให้พร้อม ยื่นหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่จะย้ายเข้า
  2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานและลงรายการในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ จากนั้นให้คุณเสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนด
  3. ใช้เวลาดำเนินการประมาณ 10 นาที ก็จะเสร็จเรียบร้อย

แต่หากคุณไม่อยากรอคิวนาน สามารถติดต่อลงทะเบียนขอรับบริการล่วงหน้าได้ที่เว็บไซต์ของสำนักบริหารการทะเบียน โดยสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ไม่เกิน 15 วัน และอย่างช้าสุดไม่เกิน 16.00 น. ก่อนวันเข้ารับบริการ หรือทำการย้ายทะเบียนบ้านผ่านแอป ThaID




การย้ายทะเบียนบ้านผ่านแอป ThaID มีขั้นตอนอะไรบ้าง?

ปัจจุบันสามารถย้ายทะเบียนบ้านผ่านแอป ThaID (ไทยดี) ได้แล้ว สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปสำนักงานเขตหรืออำเภอ เพียงทำตามขั้นตอนต่อไปนี้


ย้ายทะเบียนบ้านผ่านแอป ThaID
  1. ดาวน์โหลดและติดตั้งแอป ThaID (ไทยดี) บนมือถือได้ทั้งระบบ iOS และ Android
  2. ลงทะเบียนและยืนยันตัวตนในแอปฯ
    • ถ่ายรูปหน้าบัตรประชาชน และหลังบัตรฯ
    • ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง
    • ถ่ายรูปใบหน้าตรงตามกรอบที่กำหนด
    • สร้างรหัสผ่าน 8 หลัก (ไม่ใช้ตัวเลขเรียงหรือซ้ำเกิน 4 ตัว)
    • ยืนยันข้อมูลและรหัสผ่าน
    • เข้าสู่ระบบแอป ThaID และเลือกเมนู “การแจ้งย้ายที่อยู่” หรือ “ระบบย้ายที่อยู่ด้วยตัวเอง”
  3. กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลักของเจ้าบ้านที่ต้องการย้ายเข้า
  4. ระบบจะส่งคำขอไปยังเจ้าบ้านเพื่อยืนยัน
    • เจ้าบ้านต้องยืนยันตัวตน และให้ความยินยอมผ่านแอป ThaID เช่นกัน
    • เจ้าบ้านกดยืนยันคำขอ
  5. คำขอย้ายจะถูกส่งไปยังนายทะเบียนของอำเภอหรือสำนักงานเขตที่ต้องการย้ายเข้า
  6. นายทะเบียนอนุมัติการแจ้งย้าย และแจ้งผลให้ผู้แจ้งย้ายและเจ้าบ้านทราบ
  7. สามารถคัดสำเนาหนังสือรับรอง ทร.14/1 ในเมนูคัดรับรองเอกสารด้วยตัวเองเพื่อใช้แทนสำเนาทะเบียนบ้านได้ทันที




สุดท้ายแล้ว เมื่อซื้อบ้านจากโปรโมชันคุ้มๆ ได้เป็นเจ้าของบ้านในระยะเวลาอันรวดเร็วแล้ว มาถึงขั้นตอนการย้ายทะเบียนบ้านมีทั้งข้อดี และข้อควรระวังที่ควรทราบ โดยข้อดี คือสิ่งที่คุณจะได้รับสิทธิ์เข้าถึงบริการสาธารณูปโภค และสิทธิ์ประโยชน์อื่นๆ ตามท้องถิ่นที่คุณย้ายเข้าไป ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การรักษาพยาบาล หรือการเข้าถึงบริการของรัฐ อย่างไรก็ตาม ข้อควรระวัง คือคุณต้องตรวจสอบ และเตรียมเอกสารที่จำเป็นอย่างครบถ้วน และยื่นในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย คุณอาจต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือรับผิดชอบตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น การทราบข้อมูลและขั้นตอนที่ถูกต้องจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการย้ายทะเบียนบ้าน


ที่มา: ddproperty, Perfect Homes, สำนักบริหารการทะเบียน


คำถามที่พบบ่อย

Q :

ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง เจ้าตัวต้องไปไหม

A :

การย้ายทะเบียนบ้านปลายทางให้สะดวกและรวดเร็วที่สุด ควรดำเนินการโดยเจ้าตัวผู้ต้องการย้าย ร่วมกับเจ้าบ้านปลายทาง เพื่อให้สามารถแสดงตนและยืนยันข้อมูลได้ครบถ้วนในครั้งเดียว อย่างไรก็ตามหากไม่สามารถไปดำเนินการด้วยตนเองได้จริง ๆ ก็สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้ โดยในกรณีมอบอำนาจ ผู้รับมอบจะต้องเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

  • หนังสือมอบอำนาจ (ลงนามโดยผู้มอบอำนาจ)
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบ
  • หนังสือแสดงความยินยอมจากเจ้าบ้านปลายทาง
  • เอกสารประกอบอื่น ๆ เช่น ทะเบียนบ้านของปลายทาง

เมื่อเอกสารครบถ้วน ก็สามารถยื่นคำร้องที่สำนักงานเขตหรืออำเภอปลายทางได้ตามปกติ


Q :

การย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง มีค่าใช้จ่ายหรือไม่

A :

การแจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทางไม่มีค่าธรรมเนียมหลักในการดำเนินการ แต่ในบางกรณีอาจมีค่าออกทะเบียนบ้านฉบับใหม่หรือค่าคัดสำเนาทะเบียนบ้าน เช่น ค่าคัดสำเนาทะเบียนบ้านประมาณ 20 บาทต่อฉบับ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละสำนักงานทะเบียน


Q :

เด็กหรือผู้เยาว์สามารถไปย้ายทะเบียนบ้านด้วยตัวเองได้ไหม

A :

ผู้เยาว์ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ไม่สามารถย้ายทะเบียนบ้านเองได้ ต้องให้ผู้ปกครองหรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายเป็นผู้ดำเนินการแทน โดยต้องแนบเอกสารประกอบ เช่น สูติบัตร (ฉบับจริงและสำเนา), บัตรประชาชนของบิดา–มารดา, ทะเบียนสมรส หรือทะเบียนรับรองบุตร และหนังสือยินยอมจากเจ้าบ้านปลายทาง พร้อมลายเซ็นยินยอมให้ย้ายเข้าจากเจ้าบ้าน


Q :

ย้ายทะเบียนบ้านกรณีไม่มีเจ้าบ้าน ต้องทำอย่างไร

A :

หากต้องการย้ายทะเบียนบ้านไปยังบ้านที่ไม่มีชื่อเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านแล้ว เช่น เจ้าบ้านเสียชีวิตแล้ว หรือเจ้าบ้านย้ายออกไปแล้ว ผู้ย้ายยังสามารถดำเนินการย้ายเข้าได้ โดยต้องยื่นคำร้องขอมีชื่อในทะเบียนบ้าน ณ สำนักงานเขตหรืออำเภอที่บ้านหลังนั้นตั้งอยู่ แต่ต้องนำเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่เพิ่มเติม เช่น

  • สัญญาซื้อขายบ้าน
  • สำเนาโฉนดบ้านหรือหลักฐานความเป็นเจ้าของ
  • เอกสารแสดงความสัมพันธ์กับผู้ที่เคยเป็นเจ้าบ้าน (ถ้ามี)
  • คำขอโอนมรดก (ท.ด.๙) นำฉบับจริงมาแสดงด้วย

กรณีมีเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมหลายคน ทุกคนต้องลงลายมือชื่อให้ความยินยอมพร้อมรับรองสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน


ได้ทุกอย่าง!
ยูนิตบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม ราคาพิเศษ

คู่มืออสังหาฯยอดนิยม

  1. ซื้อบ้านควรหันทิศไหนดี ทิศใต้หรือทิศเหนือตามฮวงจุ้ย อ่านเพิ่มเติม >


  1. ดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 1.75% แล้วคนซื้อบ้านได้ประโยชน์อะไร อ่านเพิ่มเติม >


  1. ผ่อนคอนโดเดือนละ 3,000-5,000 ทำได้จริงหรือหลอก? | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >


  1. รวมมาตรการกระตุ้นซื้อบ้าน อสังหา 2568 ลดค่าโอน ดอกเบี้ยถูก | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >


  1. ส้วมตัน ชักโครกกดไม่ลง มีสาเหตุมาจากอะไร พร้อมวิธีแก้ส้วมตันด้วยตัวเอง อ่านเพิ่มเติม >


โครงการที่น่าสนใจ

โครงการพร้อมอยู่
บุราสิริ ปัญญาอินทรา

บุราสิริ ปัญญาอินทรา

บ้านเดี่ยว ปัญญาอินทรา ดีไซน์ใหม่ สไตล์อังกฤษ บนทำเลศักยภาพ พร้อมพื้นที่ส่วนกลางกว่า 13 ไร่ ทั้งคลับเฮาส์ริมทะเลสาบ และสวนขนาดใหญ่ 2 แห่ง

เริ่มต้นที่ 12.99 ล้านบาท
โครงการพร้อมอยู่
เศรษฐสิริ วงแหวน - ลำลูกกา

เศรษฐสิริ วงแหวน - ลำลูกกา

บ้านเดี่ยว ลำลูกกาโครงการบ้านพร้อมอยู่ 2 ชั้น สไตล์โมเดิร์น ฟังก์ชันครบ ธรรมชาติเงียบสงบ บนทำเลศักยภาพ ติดถนนลำลูกกา ใกล้วงแหวนรอบนอกตะวันออก และทางด่วน

เริ่มต้นที่ 5.59 ล้านบาท
โครงการพร้อมอยู่
สิริ เพลส เวสต์เกต

สิริ เพลส เวสต์เกต

ทาวน์โฮม เวสต์เกต-บางใหญ่ 2 ชั้น หลังใหญ่ ฟังก์ชันบ้าน 4 ห้องนอน มีห้องชั้นล่าง บนทำเลศักยภาพใจกลางเมืองเวสต์เกต เพียง 10 นาทีถึง เซ็นทรัล เวสเกต

เริ่มต้นที่ 2.89 ล้านบาท
โครงการพร้อมอยู่
สราญสิริ ประชาอุทิศ 90

สราญสิริ ประชาอุทิศ 90

บ้านเดี่ยว ประชาอุทิศ 90 บ้านสไตล์ Modern Farmhouse ใกล้ทางด่วน เดินทางสะดวกสู่โซน สีลม-สาทร ได้สะดวก

เริ่มต้นที่ 6.29 ล้านบาท
โครงการพร้อมอยู่
อณาสิริ สรงประภา

อณาสิริ สรงประภา

บ้านเดี่ยวและบ้านแฝด ดอนเมือง สไตล์ญี่ปุ่น บรรยากาศเมืองเกียวโต ความสะดวกใจกลางเมือง ใกล้ทางด่วน และรถไฟฟ้าสายสีแดง

เริ่มต้นที่ 5.99 ล้านบาท

บทความที่เกี่ยวข้องกับ “ตรวจบ้านโอนบ้าน”

ค่าโอนบ้านพร้อมที่ดิน ค่าโอนคอนโด จ่ายเท่าไหร่ คำนวณยังไง

ค่าโอนบ้านพร้อมที่ดิน ค่าโอนคอนโด ทาวน์โฮม ต้องเสียค่าอะไรบ้าง พร้อมเรื่องควรรู้เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมและมาตรการรัฐที่ช่วยแบ่งเบาภาระ

ย้ายเข้าบ้านใหม่วันไหนดี ต้องทำอะไรบ้าง ตามวันเกิด ปี 2568

ย้ายเข้าบ้านใหม่วันไหนดี ต้องทำอะไรบ้าง จุดธูปกี่ดอกให้อยู่ดีมีความสุขตลอดชีวิต มาเช็กฤกษ์ย้ายเข้าบ้าน ประจำปี 2568 ตามวันเกิดกัน

รวมเรื่องมงคล เมื่อคิดจะซื้อบ้านใหม่ ขึ้นบ้านใหม่

ซื้อบ้านใหม่ คอนโดใหม่ อยากจะเสริมความสิริมงคลเข้าบ้าน แนะนำให้มาอัพเดทหลากเรื่องราวมูเตลู ตั้งแต่เลขที่บ้าน วันมงคล สีมงคล ตลอดจนฤกษ์ขึ้นบ้านใหม่

ค่าโอนบ้านพร้อมที่ดิน ค่าโอนคอนโด จ่ายเท่าไหร่ คำนวณยังไง

ค่าโอนบ้านพร้อมที่ดิน ค่าโอนคอนโด ทาวน์โฮม ต้องเสียค่าอะไรบ้าง พร้อมเรื่องควรรู้เกี่ยวกับค่าธรรมเนียมและมาตรการรัฐที่ช่วยแบ่งเบาภาระ

ย้ายเข้าบ้านใหม่วันไหนดี ต้องทำอะไรบ้าง ตามวันเกิด ปี 2568

ย้ายเข้าบ้านใหม่วันไหนดี ต้องทำอะไรบ้าง จุดธูปกี่ดอกให้อยู่ดีมีความสุขตลอดชีวิต มาเช็กฤกษ์ย้ายเข้าบ้าน ประจำปี 2568 ตามวันเกิดกัน

ไม่พลาด ข่าวสารและบทความดีๆ

กรุณากรอกข้อมูลเพื่อรับข่าวสาร และข้อมูลสิทธิพิเศษจากแสนสิริก่อนใคร

ประเภทโครงการที่คุณสนใจ


เพื่อให้ท่านทราบวิธีและกระบวนการ ที่เราดำเนินการจัดเก็บข้อมูล วัตถุประสงค์การใช้ข้อมูล ​
ท่านสามารถศึกษารายละเอียด แบบแจ้งเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice) ได้ที่นี่ คลิก

ได้ทุกอย่าง!
ยูนิตบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม ราคาพิเศษ

คู่มืออสังหาฯยอดนิยม

  1. ซื้อบ้านควรหันทิศไหนดี ทิศใต้หรือทิศเหนือตามฮวงจุ้ย อ่านเพิ่มเติม >


  1. ดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 1.75% แล้วคนซื้อบ้านได้ประโยชน์อะไร อ่านเพิ่มเติม >


  1. ผ่อนคอนโดเดือนละ 3,000-5,000 ทำได้จริงหรือหลอก? | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >


  1. รวมมาตรการกระตุ้นซื้อบ้าน อสังหา 2568 ลดค่าโอน ดอกเบี้ยถูก | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >


  1. ส้วมตัน ชักโครกกดไม่ลง มีสาเหตุมาจากอะไร พร้อมวิธีแก้ส้วมตันด้วยตัวเอง อ่านเพิ่มเติม >