ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายเพิ่มความเข้มงวดในการสอดส่องดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาเช่าที่อยู่อาศัยในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม คอนโด อะพาร์ตเมนต์ บ้านเช่า รวมถึงสถานประกอบการประเภทที่พักอื่น ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันปัญหาชาวต่างชาติเข้ามาทำสิ่งผิดกฎหมายในบ้านเรา ซึ่งอาจสร้างความเดือดร้อนให้กับคนไทยได้ ดังนั้นใครที่เป็นนักลงทุนหรือเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการปล่อยเช่าให้กับชาวต่างชาติจะต้องแจ้ง ตม.30 หรือ TM 30 ให้เจ้าหน้าที่รัฐรับทราบทุกครั้ง แต่สำหรับผู้ที่เป็นมือใหม่เริ่มปล่อยเช่าที่พักให้กับชาวต่างชาติอาจจะยังไม่เข้าใจว่า ตม 30 คือ อะไร สำคัญอย่างไร หากไม่แจ้งจะมีความผิดหรือไม่ สามารถหาคำตอบได้จากบทความนี้
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 กำหนดว่าคนไทยที่เป็นเจ้าของหรือผู้จัดการที่อยู่อาศัยทั้งในรูปแบบของโรงแรม รีสอร์ต โฮสเทล เกสเฮาส์ แมนชั่น คอนโด และสถานประกอบการประเภทที่พักอื่น ๆ จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่รัฐรับทราบภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่มีคนต่างด้าวเข้ามาพักอาศัย หากหลีกเลี่ยงไม่แจ้งจะมีโทษตามกฎหมาย ส่วนสาเหตุว่าทำไมถึงต้องแจ้ง ก็เพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐได้ตรวจสอบว่าชาวต่างชาติที่เข้าพักอาศัยเป็นบุคคลที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องการตัวหรือไม่ ช่วยให้เจ้าหน้าที่สามารถสอดส่องดูแลไม่ให้ชาวต่างชาติเข้ามาก่ออาชญากรรม หรือทำสิ่งผิดกฎหมายขณะพำนักอยู่ในประเทศไทย ซึ่งอาจสร้างความเดือดร้อนให้กับคนไทยได้ นอกจากนี้ยังเป็นการเก็บข้อมูลการท่องเที่ยวของภาครัฐอีกด้วย โดยพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มีมาตราสำคัญที่ควรทำความเข้าใจดังนี้
ในมาตรานี้กำหนดความหมาย “คนต่างด้าว” หมายความว่า บุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย “คนเข้าเมือง” หมายความว่า คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักร และ “เจ้าบ้าน” หมายความว่า ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของผู้เช่าหรือในฐานะอื่นใดตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนราษฎร์
มาตรานี้กำหนดให้ “เจ้าบ้าน” ซึ่งรับคนต่างด้าวเข้าพักอาศัย จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองในท้องที่นั้นภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่มีคนต่างด้าวเข้ามาพักอาศัย หรือหากท้องที่ใดไม่มีที่ทำการตรวจคนเข้าเมือง ให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ณ สถานีตำรวจในท้องที่ แต่ในกรณีที่ไม่แจ้งหรือหลีกเลี่ยงการแจ้งต่อเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องถูกระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท แต่ถ้าหากผู้นั้นเป็นผู้จัดการโรงแรมจะต้องถูกระวางโทษปรับตั้งแต่ 2,000 - 10,000 บาท
หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้ว ตม 30 คืออะไรและเกี่ยวอะไรกับพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เพราะในมาตรา 4 และมาตรา 38 ไม่ได้ระบุหรือเขียนเกี่ยวกับ ตม.30 หรือ TM 30 ซึ่งต้องขออธิบายว่า ตม.30 หรือ TM 30 คือชื่อแบบฟอร์มการแจ้งที่พักของคนต่างด้าวต่อทางราชการ ที่เจ้าบ้านจะต้องทำการกรอกรายละเอียดต่าง ๆ เพื่อส่งให้กับทางราชการตรวจสอบ ด้วยเหตุนี้ทำให้การแจ้งที่พักของคนต่างด้าวจึงมักถูกเรียกติดปากกันว่าการแจ้ง ตม.30 หรือ TM 30 นั่นเอง
ปัจจุบันการแจ้ง ตม.30 สามารถทำได้สะดวกรวดเร็วกว่าเมื่อก่อนมาก โดยมีช่องทางที่สามารถทำได้ถึง 3 ช่องทาง ดังนี้
ช่องทางแรกในการแจ้ง TM 30 คือให้ผู้แจ้งนำเอกสารมาแจ้งด้วยตนเอง ณ ที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองในท้องที่ หรือหากไม่สะดวกสามารถให้ผู้อื่นมาแจ้งแทนได้ แต่หากไม่มีที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองในท้องที่ให้นำเอกสารมาแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ณ สถานีตำรวจในท้องที่ (ตามวันและเวลาราชการ)
อีกหนึ่งช่องทางในการแจ้ง ตม 30 คือส่งเอกสารทางไปรษณีย์ลงทะเบียน โดยมีขั้นตอนดังนี้
ช่องทางสุดท้ายในการแจ้ง TM 30 คือช่องทางออนไลน์ ซึ่งถือเป็นช่องทางที่สะดวกรวดเร็วมาก ๆ เพราะสามารถทำได้เองที่บ้าน ไม่ต้องเดินทางไปสถานที่ราชการด้วยตัวเอง โดยมีขั้นตอนดังนี้
นอกจากนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าบ้านที่เป็นผู้ประกอบการ ทางด้านสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองยังได้พัฒนาระบบแจ้งที่พักอาศัยคนต่างด้าว โดยให้สามารถดาวน์โหลด Driver สำหรับติดตั้งโปรแกรม รวมถึงคู่มือการใช้งานอย่างละเอียดได้ที่เว็บไซต์ immigration.go.th
ในการแจ้งรับคนต่างด้าวเข้าพักอาศัยหรือแจ้ง ตม.30 จะต้องมีเอกสารสำคัญ 2 ส่วน ซึ่งเอกสารส่วนที่ 1 เป็นส่วนของเจ้าบ้านที่จะต้องกรอกข้อมูลของตัวเองให้ครบถ้วน รวมถึงสถานที่ตั้งของที่พักที่คนต่างด้าวเข้ามาพัก เอกสารส่วนที่ 2 เป็นส่วนสำหรับลงรายชื่อคนต่างด้าวที่เข้าพัก โดยให้ดูข้อมูลจากหนังสือเดินทางของบุคคลต่างด้าวเป็นหลัก และในการกรอกข้อมูลมีข้อควรระวังดังนี้
เมื่อกรอกข้อมูลในเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์แล้วให้นำส่งแก่เจ้าหน้าที่ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะทำการตรวจสอบข้อมูล เมื่อตรวจเรียบร้อยแล้วเจ้าหน้าที่จะฉีกแบบ ตม.30 ส่วนล่างให้ผู้แจ้งเก็บไว้เป็นหลักฐาน
ทั้งหมดนี้คือข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ ที่ควรรู้เกี่ยวกับการแจ้งที่พักอาศัยคนต่างด้าว ตม.30 หรือ TM 30 ที่ได้รวบรวมมาฝากกันในวันนี้ ใครที่สงสัยว่า ตม 30 คืออะไร และสำคัญอย่างไรก็น่าจะได้คำตอบกันแล้ว ใครที่เป็นเจ้าของที่พักอาศัยไม่ว่าจะเป็นโรมแรม โฮสเทล คอนโด อะพาร์ตเมนต์ บ้านเช่า หรือสถานประกอบการประเภทที่พักอื่น ๆ อย่าลืมให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่แจ้ง ตม.30 ตามกฎหมาย เพราะนอกจากจะทำให้เจ้าของที่พักไม่ต้องเสียค่าปรับและดำเนินกิจการได้อย่างราบรื่นแล้ว ยังช่วยให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถสอดส่องดูแลชาวต่างชาติที่เข้ามาพำนักในประเทศไทยได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้นอีกด้วย และสำหรับใครที่กำลังมองหาบ้าน คอนโด หรือทาวน์โฮมน่าอยู่อาศัยในทำเลศักยภาพ ทั้งยังตอบโจทย์การอยู่อาศัยเองและการปล่อยเช่าก็สามารถเข้าไปดูโครงการที่น่าสนใจได้ที่เว็บไซต์ sansiri.com
แหล่งอ้างอิง: nayoo, roomscope, ddproperty, livinginsider, primo
Q :
A :
การแจ้ง TM 30 จะต้องทำกับชาวต่างชาติที่เข้าพักทุกคนและทุกครั้งที่มีการเข้าพัก ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ตัวอย่างเช่น มีชาวต่างชาติคนหนึ่งเคยเข้าพักแล้วเมื่อไม่กี่วันก่อน (ต้องแจ้ง TM 30) และได้เช็กเอาท์ออกไปแล้ว แต่กลับมาเข้าพักใหม่ กรณีนี้ก็ต้องแจ้ง TM 30 อีกครั้ง เป็นต้น
Q :
A :
ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 38 กำหนดให้เจ้าของที่อยู่อาศัยจะต้องแจ้ง ตม.30 หรือ TM 30 ภายใน 24 ชั่วโมง นับตั้งแต่มีชาวต่างชาติเข้าพักอาศัย ในกรณีที่แจ้งล่าช้าเกิน 24 ชั่วโมง สามารถแจ้งได้แต่จะต้องเสียค่าปรับ
Q :
A :
สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์ม TM 30 ผ่านทางออนไลน์ดังนี้
Q :
A :
สำหรับ ตม.28 คือแบบฟอร์มที่คนต่างด้าวไปแจ้งที่พักอาศัยกับที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองด้วยตัวเอง ส่วน ตม.30 หรือ TM 30 คือ แบบฟอร์มสำหรับเจ้าของที่พักอาศัยนำไปแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองว่ามีคนต่างด้าวเข้ามาพักอาศัย ตามมาตรา 38
Q :
A :
กรณีที่ชาวต่างชาติอยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน จะต้องรายงานตัวแจ้งที่พักอาศัยโดยใช้แบบฟอร์ม ตม.47 ต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองทุก 90 วัน โดยสามารถไปแจ้งด้วยตัวเองหรือมอบหมายผู้อื่นไปแจ้งก็ได้ ส่วนเจ้าของบ้านพักจะต้องแจ้งว่ามีชาวต่างชาติเข้าพักอาศัยด้วยแบบฟอร์ม ตม.30
Q :
A :
ชาวต่างชาติที่ต้องการลงทุนซื้อคอนโดในไทย แม้ว่าจะมีวีซ่าถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นวีซ่าประเภทใด จำเป็นต้องแจ้ง ตม. 30 โดยต้องแจ้งข้อมูลการเข้าพักต่อสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองภายใน 24 ชั่วโมง และตามเงื่อนไขที่กำหนด จะไม่มีข้อยกเว้นนักลงทุนต่างชาติ ดังนั้นจึงต้องปฏิบัติตามกฎหมายเช่นเดียวกับชาวต่างชาติทั่วไป
ซื้อบ้านควรหันทิศไหนดี ทิศใต้หรือทิศเหนือตามฮวงจุ้ย อ่านเพิ่มเติม >
ผ่อนคอนโดเดือนละ 3,000-5,000 ทำได้จริงหรือหลอก? | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 1.75% แล้วคนซื้อบ้านได้ประโยชน์อะไร อ่านเพิ่มเติม >
รวมมาตรการกระตุ้นซื้อบ้าน อสังหา 2568 ลดค่าโอน ดอกเบี้ยถูก | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ส้วมตัน ชักโครกกดไม่ลง มีสาเหตุมาจากอะไร พร้อมวิธีแก้ส้วมตันด้วยตัวเอง อ่านเพิ่มเติม >
มุมมองลงทุนอสังหาริมทรัพย์ 2568 บ้านหรู เติบโตสวนกระแส ดีดตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในแง่ของซัพพลายหรือดีมานด์ โดยเฉพาะกลุ่มกำลังซื้อคนไทยระดับบน
ลงทุนบ้านหรู กระแสใหม่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะบ้านหรูใกล้เมือง ตั้งอยู่ในทำเลศักยภาพรอบด้าน ครบทุกความสะดวก อยู่กีดี ลงทุนก็คุ้ม อย่างกรุงเทพกรีฑาและบางนา
หาคำตอบข้อแตกต่างระหว่างขายฝากและจำนอง พร้อมพบจุดเด่น จุดด้อยของนิติกรรมทั้ง 2 รูปแบบ เพื่อประโยชน์ในการเปลี่ยนที่ดินเป็นเงินก้อน
มุมมองลงทุนอสังหาริมทรัพย์ 2568 บ้านหรู เติบโตสวนกระแส ดีดตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในแง่ของซัพพลายหรือดีมานด์ โดยเฉพาะกลุ่มกำลังซื้อคนไทยระดับบน
ลงทุนบ้านหรู กระแสใหม่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะบ้านหรูใกล้เมือง ตั้งอยู่ในทำเลศักยภาพรอบด้าน ครบทุกความสะดวก อยู่กีดี ลงทุนก็คุ้ม อย่างกรุงเทพกรีฑาและบางนา
ซื้อบ้านควรหันทิศไหนดี ทิศใต้หรือทิศเหนือตามฮวงจุ้ย อ่านเพิ่มเติม >
ผ่อนคอนโดเดือนละ 3,000-5,000 ทำได้จริงหรือหลอก? | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ดอกเบี้ยนโยบายขึ้น 1.75% แล้วคนซื้อบ้านได้ประโยชน์อะไร อ่านเพิ่มเติม >
รวมมาตรการกระตุ้นซื้อบ้าน อสังหา 2568 ลดค่าโอน ดอกเบี้ยถูก | แสนสิริ อ่านเพิ่มเติม >
ส้วมตัน ชักโครกกดไม่ลง มีสาเหตุมาจากอะไร พร้อมวิธีแก้ส้วมตันด้วยตัวเอง อ่านเพิ่มเติม >